วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

ระบบโปรแกรม SSB ในโรงพยาบาล




ชื่อซอฟต์แวร์ : ชุดโปรแกรมการบริหารงาน SSB                          
                ชุดโปรแกรมการบริหารงาน SSB เป็นโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับงานโรงพยาบาลเป็นหลัก
 ซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการบริหารจัดการส่วนงานที่เป็นแก่นแกน (Core Applications) 
ร่วมกับการบริหารเชิงกลยุทธขององค์กร พร้อมการบูรณาการ (Integration) อย่างสมบูรณ์
 เน้นความเป็นอัตโนมัติ รองรับการเป็นสำนักงานไร้กระดาษ สนับสนุนการดำเนินงานทุกส่วนงาน
 ทุกระดับชั้น เน้นความสามารถที่ครบถ้วน มีความพร้อมต่อการปรับใช้ตามนโยบายของผู้บริหาร
ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ :
บริษัท เอส เอส บี (กรุงเทพ) จำกัด เลขที่ 5/11 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ 11120 โทร (66) 02-573-5709-12 โทรสาร (66) 02-573-5713  
เว็บไซต์ http://www.ssb.co.th/

ประวัติความเป็นมา
บริษัท เอส เอส บี(กรุงเทพ) จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 พัฒนาโปรแกรมการบริหาร
และการจัดการข้อมูลเพื่อสนองตอบต่อ ความต้องการในการบริหารและจัดการงานแนวใหม่
ทั้งในส่วนของงาน Front Office และ Back Office เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กร
ที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ที่มีความชัดเจนและโปร่งใส
พร้อมต่อการตรวจสอบและการวัดประสิทธิภาพ สามารถสนองตอบต่อความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยประสิทธิภาพที่เป็นเลิศและฉับไว
ชุดโปรแกรมการบริหารงาน SSB นั้น ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับองค์กร เสริมด้วยระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์จากการบริหารงานแนวใหม่
 พร้อมเพิ่มเติมด้วยความสามารถจากแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Business Best Practices) 
ที่SSB ได้สั่งสมไว้จากการให้บริการองค์กรต่างๆ มาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้ 
ระบบจึงมีความสมบูรณ์พร้อมให้ใช้งานได้ทันที จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ ชุดโปรแกรมการบริหารงานของ SSB จึงเหมาะอย่างยิ่งกับ องค์กรทั้งภาคเอกชน
และราชการ ที่ต้องการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทิศทางการบริหารงานแนวใหม่

วัตถุประสงค์
เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานเกี่ยวกับโรงพยาบาล ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว
ในการบริการผู้ป่วยและพนักงานในโรงพยาบาล

ราคาซอฟต์แวร์ :
ราคาประมาณ 10 ล้านบาท 
ส่วนที่ 2 : ฟังก์ชั่นการทำงานของซอฟต์แวร์
 



ชุดโปรแกรมการบริหารงาน SSB ประกอบด้วยฟังก์ชั่นการทำงานของซอฟต์แวร์ 4 ส่วน ดังนี้

(1)       Front Office Solutions ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ดังนี้



1.1 ระบบพยาบาลหน้าห้องตรวจ

      (Nurse Counter)  ระบบพยาบาลหน้าห้องตรวจเป็นระบบที่มีเนื้อหาในการทำงานละเอีย
ดและหลากหลาย แต่ต้องรองรับปริมาณผู้ป่วยที่มากในช่วงเวลาที่จำกัด 
ดังนั้นระบบพยาบาลหน้าห้องตรวจ จึงมีวิธีการทำงานที่ง่าย สะดวก และเน้นความรวดเร็ว
 ป้องกันความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล โดยการลงทะเบียนผู้ป่วยกรณีที่มีการนัดหมาย
สามารถติดต่อตรงได้ในแต่ละคลินิก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะเชื่อมโยงมาให้อัตโนมัติ
โดยที่พยาบาลไม่ต้องทำการบันทึกเพิ่มเติม หรือในกรณีที่มีการส่งตรวจล่วงหน้า
 ระบบจะทำการเตือน และเพียงแค่ยืนยัน ข้อมูลการส่งตรวจจะเชื่อมโยงไปยังห้องปฎิบัติการ
 หรือห้องรังสีวิทยาทันที ในกรณีที่ไม่มีการนัดหมายก็สามารถทำการติดต่อเพื่อลงทะเบียน 
ซึ่งข้อมูลจะเชื่อมโยงไปยังแผนกทะเบียน และเวชระเบียนอัตโนมัติ ทางด้านการแพทย์ 
ได้จัดทำแบบประเมินทางการพยาบาล อำนวยความสะดวกในการรับคำสั่งทางการแพทย์ 
การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ สั่งตรวจทางรังสีวิทยา การสั่งอาหารผู้ป่วย
ที่นอน Observe อยู่ที่ OPD บันทึกหัตถการต่างๆ ที่เกิดขึ้น การส่งผ่าตัดไปยังระบบห้องผ่าตัด
 และระบบการนัดหมายซึ่งมีความยืดหยุ่น และรองรับการนัดหมายที่หลากหลาย 




  • ลงทะเบียนผู้ป่วยนอกจากระบบพยาบาลหน้าห้องตรวจ 




  • ระบบการจัดคิวการตรวจรักษา เพื่อให้เกิดการกระจายผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
  •  ระบบสามารถกระจายคิวได้ทั้งแบบเฉลี่ยผู้ป่วยให้แพทย์ในอัตราที่เท่ากัน หรือกระจายตามปริมาณผู้ป่วยที่รอพบแพทย์แต่ละท่าน



  • จัดเก็บ และแสดงระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วย เพื่อนำไปปรับปรุงการ
  •  ให้บริการของโรงพยาบาลในภาพรวม



  • อำนวยความสะดวกในการรับคำสั่งทางการแพทย์ เชื่อมโยงข้อมูลการสั่งตรวจ
  •  จากพยาบาลหน้าห้องตรวจกระจายไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการทำงานที่สะดวกและรวดเร็ว



  • สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ



  • สั่งตรวจทางรังสีวิทยา



  • การสั่งอาหารของผู้ป่วยที่นอน Observe ที่ ER หรือ OPD



  • กิจกรรม หรือหัตถการ ตามแต่ละสาขา



  • บันทึกรายการยา และเวชภัณฑ์



  • ส่งผ่าตัด การจองห้องพัก พร้อมระบบการจองเลือดไปยังระบบธนาคารเลือด



  • รองรับระบบการฝากนอนของผู้ป่วยที่ OPD ในกรณีที่ผู้ป่วยรอดูอาการ ในขณะที่ยังไม่ตัดสินใจรับไว้เป็นผู้ป่วยใน



  • ป้องกันความผิดพลาดในการส่งตรวจ



  • 1.2 เภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
          (Opd Pharmacy Room )


    ระบบเภสัชกรรม จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห้องยาให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วต่อการให้บริการ โดยจัดทำฟังก์ชั่นที่ง่ายต่อการการสืบค้นข้อมูลยา การบันทึกวิธีรับประทานยา หรือการแสดงรายการยาทดแทนทันที กรณีที่สั่งจ่ายยาที่สิทธ์การรักษาไม่รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีระบบ ควบคุม และป้องกันการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ เตือนการสั่งยาซ้ำซ้อน Drug Interaction เตือนการสั่งยาเกินขนาด เตือนการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร การสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงอายุ เพศ รวมถึงการแนะนำการสั่งยาให้กับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก การควบคุมการสั่งยาตามสาขาแพทย์ และ High Alert Drug รวมถึงระบบการสั่งยาผู้ป่วยใน ในการคำนวณจำนวนปริมาณการสั่งยาให้อัตโนมัติ ระบบการสร้างข้อมูลยา Continue และระบบการ Off ยารับประทานอัตโนมัติจากการ NPO การจัดเก็บข้อมูล Medication Error 




















    เพิ่มประสิทธิภาพในการบันทึกข้อมูลยาให้เกิดความรวดเร็ว และถูกต้อง








  • สามารถสร้าง Hot Key ในการบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการ เพื่อให้เกิดความสะดวก และไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน จึงได้จัดทำระบบช่วยเหลือในการสร้าง Hot Key ที่เลียนแบบวิธีการทำงานเดิม




  • แสดงวิธีรับประทานยาให้ทันทีที่บันทึกรายการยา




  • แสดงข้อมูลจากการกำหนดวิธีรับประทานยาเป็นมาตรฐานในแต่ละรายการยา




  • แสดงข้อมูลการเรียนรู้การใช้ยาจากประวัติการสั่งจ่ายยา




  • แสดงข้อมูลวิธีรับประทานยาทุกวิธี ของยาแต่ละรายการ




  • แสดงรายการยาทดแทน ทันทีที่เลือกรายการยาไม่ถูกต้องตามสิทธ์การรักษา ในกรณีที่รายการยาบางรายการสิทธ์การรักษาไม่ครอบคลุมระบบสามารถป้องกัน และเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบได้ทันที




  • รองรับการบันทึกรายการยาจากนอกโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการรับประทานยาจากโรงพยาบาลอื่น ควบคู่กับการรักษาของโรงพยาบาล สามารถจัดเก็บข้อมูลการรับประทานยา และสามารถตรวจสอบการสั่งยาซ้ำซ้อน และ Drug Interaction จากยาภายนอกโรงพยาบาลได้ 





  • แสดงยอดคงเหลือของยา และสอบถามยอดคงเหลือจากทุกคลังของโรงพยาบาล




  • จัดพิมพ์เอกสารการใช้ยานอกบัญชียาหลัก หรือเอกสารการอนุมัติใช้ยาได้ทันที

  • ระบบป้องกันความผิดพลาดในการสั่งจ่ายยา






  • ระบบเตือน และป้องกันการสั่งรายการยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้




  • ป้องกันการสั่งยาซ้ำซ้อนระหว่างวัน และรายการยาที่ผู้ป่วยยังคงรับประทานอยู่




  • ระบบการเตือน และป้องกันรายการคู่ยา Drug Interaction




  • ระบบการเตือนการสั่งยาให้กับผู้ป่วยเกินขนาดความปลอดภัย (over dose)




  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์ ตามช่วงอายุครรภ์




  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงการให้นมบุตร




  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงอายุของผู้ป่วย




  • ระบบการเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับเพศของผู้ป่วย




  • ระบบควบคุมการสั่งยาตามสาขาเฉพาะทางของแพทย์

  • ระบบการสั่งยาผู้ป่วยใน






  • โปรแกรมการคำนวณปริมาณยาอัตโนมัติ




  • รองรับความหลากหลายในการบริหารยาผู้ป่วยใน



  • รองรับการสั่งยา Plan Discharge




  • อำนวยความสะดวกในการดึงข้อมูลรายการยา Continue ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมของแต่ละห้องยา




  • ระบบการ Off ยารับประทานอัตโนมัติ กรณีผู้ป่วย NPO




  • จัดเก็บ Log file ในการตรวจสอบการ Off ยา Continue




  • รองรับการสอบถามและออกรายงาน Drug Profile




  • รายงาน Medication Admin Record




  • รายงานยาเสพติด ยส6 บจ8 บจ9 ฯลฯ






  • 1.3 การเงินผู้ป่วยนอก



     ระบบงานการเงิน พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวก และป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงิน โดยระบบทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ทั้งในส่วนขอเงื่อนไขของสิทธ์การรักษา ค่ารักษาพยาบาล ส่วนลด เพื่อให้การเงินสามารถติดตามทวงถาม พร้อมทั้งระบบการแจ้งเตือนกรณีที่ยอดค่ารักษาพยาบาลที่คงค้างในขณะที่ผู้ป่วยมาชำระ การเตือนวงเงินคงเหลือของผู้ป่วยที่สามารถใช้สิทธ์ได้ในการรักษาครั้งนั้น ๆ และในกรณีที่ทำการรับชำระด้วยบัตรเครดิตสามารถเชื่อมต่อข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต และยอดค่ารักษาพยาบาลไปยังธนาคารอัตโนมัติ ซึ่งลดความผิดพลาด และเวลาในการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่การเงิน นอกจากนี้ระบบยังให้ความสำคัญในการรองรับนโยบายที่หลากหลายทางด้านการตลาด โดยมีระบบการตัดรายการค่ารักษาพยาบาลตาม Package ที่โรงพยาบาลจัดทำขึ้น การกำหนดเงื่อนไขส่วนลดที่หลากหลาย ตารางผลประโยชน์ตาม การกรมธรรม์ของผู้ป่วย การเลือกตัดรายการค่ารักษาตาม Fax Claim กับหน่วยงานประกัน ในด้านบริหารจัดการ และระบบควบคุมภายในมีระบบการตรวจสอบยอดเงินค้างชำระที่ยังคงค้างในระบบการเงิน และระบบการแจ้งเตือนยอดค้างชำระจากระบบบัญชีลูกหนี้ การควบคุมการยกเลิกเอกสารข้ามวัน หรือข้ามกะ โดยผู้จัดการฝ่ายการเงินสามารถตรวจสอบสถานะการรับเงินได้ตลอดเวลา

    ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงิน









  • เชื่อมโยงข้อมูลเงื่อนไขสิทธ์การรักษา และควบคุมเงื่อนไขการรักษาพยาบาล




  • ตรวจสอบเงื่อนไข พร้อมทั้งแสดงรูปภาพบัตรต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ




  • รองรับนโยบายที่หลากหลายภายในองค์กร และภายนอกองค์กร




  • รองรับกำหนดรหัสรายการจากเลขที่กรมบัญชีกลาง




  • ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน





  • 1.4 เภสัชกรรมผู้ป่วยใน




      ระบบเภสัชกรรม จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห้องยาให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วต่อการให้บริการ โดยจัดทำฟังก์ชั่นที่ง่ายต่อการการสืบค้นข้อมูลยา การบันทึกวิธีรับประทานยา หรือการแสดงรายการยาทดแทนทันที กรณีที่สั่งจ่ายยาที่สิทธ์การรักษาไม่รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีระบบ ควบคุม และป้องกันการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ เตือนการสั่งยาซ้ำซ้อน Drug Interaction เตือนการสั่งยาเกินขนาด เตือนการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร การสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงอายุ เพศ รวมถึงการแนะนำการสั่งยาให้กับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก การควบคุมการสั่งยาตามสาขาแพทย์ และ High Alert Drug รวมถึงระบบการสั่งยาผู้ป่วยใน ในการคำนวณจำนวนปริมาณการสั่งยาให้อัตโนมัติ ระบบการสร้างข้อมูลยา Continue และระบบการ Off ยารับประทานอัตโนมัติจากการ NPO การจัดเก็บข้อมูล Medication Error 

    เพิ่มประสิทธิภาพในการบันทึกข้อมูลยาให้เกิดความรวดเร็ว และถูกต้อง









  • สามารถสร้าง Hot Key ในการบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการ เพื่อให้เกิดความสะดวก และไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน จึงได้จัดทำระบบช่วยเหลือในการสร้าง Hot Key ที่เลียนแบบวิธีการทำงานเดิม






  • แสดงวิธีรับประทานยาให้ทันทีที่บันทึกรายการยา






  • แสดงข้อมูลจากการกำหนดวิธีรับประทานยาเป็นมาตรฐานในแต่ละรายการยา






  • แสดงข้อมูลการเรียนรู้การใช้ยาจากประวัติการสั่งจ่ายยา






  • แสดงข้อมูลวิธีรับประทานยาทุกวิธี ของยาแต่ละรายการ






  • แสดงรายการยาทดแทน ทันทีที่เลือกรายการยาไม่ถูกต้องตามสิทธ์การรักษา ในกรณีที่รายการยาบางรายการสิทธ์การรักษาไม่ครอบคลุมระบบสามารถป้องกัน และเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบได้ทันที






  • รองรับการบันทึกรายการยาจากนอกโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการรับประทานยาจากโรงพยาบาลอื่น ควบคู่กับการรักษาของโรงพยาบาล สามารถจัดเก็บข้อมูลการรับประทานยา และสามารถตรวจสอบการสั่งยาซ้ำซ้อน และ Drug Interaction จากยาภายนอกโรงพยาบาลได้






  • แสดงยอดคงเหลือของยา และสอบถามยอดคงเหลือจากทุกคลังของโรงพยาบาล






  • จัดพิมพ์เอกสารการใช้ยานอกบัญชียาหลัก หรือเอกสารการอนุมัติใช้ยาได้ทันที


  • ระบบป้องกันความผิดพลาดในการสั่งจ่ายยา








  • ระบบเตือน และป้องกันการสั่งรายการยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้






  • ป้องกันการสั่งยาซ้ำซ้อนระหว่างวัน และรายการยาที่ผู้ป่วยยังคงรับประทานอยู่






  • ระบบการเตือน และป้องกันรายการคู่ยา Drug Interaction






  • ระบบการเตือนการสั่งยาให้กับผู้ป่วยเกินขนาดความปลอดภัย (over dose)






  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์ ตามช่วงอายุครรภ์






  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงการให้นมบุตร






  • ระบบเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับช่วงอายุของผู้ป่วย






  • ระบบการเตือนการสั่งยาไม่เหมาะสมกับเพศของผู้ป่วย






  • ระบบควบคุมการสั่งยาตามสาขาเฉพาะทางของแพทย์


  • ระบบการสั่งยาผู้ป่วยใน








  • โปรแกรมการคำนวณปริมาณยาอัตโนมัติ






  • รองรับความหลากหลายในการบริหารยาผู้ป่วยใน






  • รองรับการสั่งยา Plan Discharge






  • อำนวยความสะดวกในการดึงข้อมูลรายการยา Continue ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมของแต่ละห้องยา






  • ระบบการ Off ยารับประทานอัตโนมัติ กรณีผู้ป่วย NPO






  • จัดเก็บ Log file ในการตรวจสอบการ Off ยา Continue






  • รองรับการสอบถามและออกรายงาน Drug Profile






  • รายงาน Medication Admin Record






  • รายงานยาเสพติด ยส6 บจ8 บจ9 ฯลฯ





  • 1.5 การเงินผู้ป่วยใน


    ระบบงานการเงิน พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวก และป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงิน โดยระบบทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ทั้งในส่วนขอเงื่อนไขของสิทธ์การรักษา ค่ารักษาพยาบาล ส่วนลด เพื่อให้การเงินสามารถติดตามทวงถาม พร้อมทั้งระบบการแจ้งเตือนกรณีที่ยอดค่ารักษาพยาบาลที่คงค้างในขณะที่ผู้ป่วยมาชำระ การเตือนวงเงินคงเหลือของผู้ป่วยที่สามารถใช้สิทธ์ได้ในการรักษาครั้งนั้น ๆ และในกรณีที่ทำการรับชำระด้วยบัตรเครดิตสามารถเชื่อมต่อข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต และยอดค่ารักษาพยาบาลไปยังธนาคารอัตโนมัติ ซึ่งลดความผิดพลาด และเวลาในการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่การเงิน นอกจากนี้ระบบยังให้ความสำคัญในการรองรับนโยบายที่หลากหลายทางด้านการตลาด โดยมีระบบการตัดรายการค่ารักษาพยาบาลตาม Package ที่โรงพยาบาลจัดทำขึ้น การกำหนดเงื่อนไขส่วนลดที่หลากหลาย ตารางผลประโยชน์ตาม การกรมธรรม์ของผู้ป่วย การเลือกตัดรายการค่ารักษาตาม Fax Claim กับหน่วยงานประกัน ในด้านบริหารจัดการ และระบบควบคุมภายในมีระบบการตรวจสอบยอดเงินค้างชำระที่ยังคงค้างในระบบการเงิน และระบบการแจ้งเตือนยอดค้างชำระจากระบบบัญชีลูกหนี้ การควบคุมการยกเลิกเอกสารข้ามวัน หรือข้ามกะ โดยผู้จัดการฝ่ายการเงินสามารถตรวจสอบสถานะการรับเงินได้ตลอดเวลา 

    ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงิน









  • เชื่อมโยงข้อมูลเงื่อนไขสิทธ์การรักษา และควบคุมเงื่อนไขการรักษาพยาบาล
  • ตรวจสอบเงื่อนไข พร้อมทั้งแสดงรูปภาพบัตรต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
  • รองรับนโยบายที่หลากหลายภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
  • สามารถกำหนดส่วนลดได้หลากหลาย ตามเงื่อนไขของบริษัทคู่สัญญา
  • กำหนดตามเปอร์เซ็นต์
  • กำหนดตามวงเงิน
  • กำหนดตามรายการค่ารักษาพยาบาล
  • คิดค่าบริการทางโรงพยาบาล (Service Charge ) อัตโนมัติ
  • อัตโนมัติคิดค่าแพทย์ ตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย เช่น ในกรณีถ้าแพทย์ทำการตรวจผู้ป่วยประกันสังคม ระบบจะดึงอัตราค่าตรวจมาให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องทำการบันทึกรายการ




  • 1.6 หน่วยรับผู้ป่วยใน




       แสดงข้อมูลผู้ป่วยที่ Admit สามารถจัดการเตียง ได้แก่ การย้ายเตียง, การจองเตียง, การคืนเตียง และสลับเตียง เป็นต้น แสดงสถานะและประวัติการครองเตียงของผู้ป่วยได้ สามารถแสดงสถานะเตียง และผังโครงสร้างหอผู้ป่วย 




    1.7 หออภิบาลผู้ป่วย




      ระบบหอผู้ป่วยเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยง และเสมือนศูนย์กลางของข้อมูลที่เกิดขึ้น มีเนื้อหาในการทำงานละเอียดและหลากหลาย ดังนั้นระบบจึงมีการออกรูปแบบให้สอดคล้องกับการทำงานเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และการใช้งาน โดยรูปแบบการแสดงรูปแบบข้อมูลให้เหมือนกับใบคำสั่งแพทย์ จัดให้มีแบบประเมินทางการพยาบาล TPR Chart แบบบันทึกทางการพยาบาล การบันทึกรายการยา และเวชภัณฑ์ การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ สั่งตรวจทางรังสีวิทยา การสั่งอาหารไปยังหน่วยงานโภชนาการ บันทึกหัตถการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงไปยังระบบงานเฝ้าระวังการติดเชื้อ การส่งผ่าตัด การจองเลือดรวมถึงการสอบถามตารางการใช้ห้องผ่าตัด รองรับการนัดหมายผู้ป่วยผ่านระบบผู้ป่วยใน การป้องกันและตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลคงค้างในขั้นตอนการแจ้งจำหน่าย และการจำหน่ายผู้ป่วย







  • จัดทำโปรแกรมให้สอดคล้องกับระบบการเดิม พัฒนาโปรแกรมให้มีรูปแบบใกล้เคียงกับการทำงานของพยาบาล โดยอ้างอิงจากการรับคำสั่งแพทย์ โดยแยกออกเป็นส่วนของ Order for One Day และ Order Continue ซึ่งคุณพยาบาลสามารถย้อนหลังในการสอบถาม หรือตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา







  • อำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วย แสดงผังห้อง และสถานะของห้อง ,การลงทะเบียน รับใหม่ รับย้าย ย้ายไป หรือการจำหน่ายห้อง







  • แสดงสถานะปกปิด ห้ามเยี่ยม สามารถปกปิดรายชื่อผู้ป่วยที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อหรือการใช้นามแฝง หรือแสดงสถานะปกปิด หรือห้ามเยี่ยม ผ่านระบบ







  • รองรับการบันทึกแบบประเมินทางการพยาบาลผู้ป่วยใน มีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลทางการพยาบาลไว้ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ โดยจัดทำเป็น Template ในการบันทึกข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว มีระบบช่วยเหลือ จัดทำ Preset ของข้อความหรือประโยคที่ใช้เป็นประจำ







  • บันทึกรายการยา และเวชภัณฑ์







  • สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ







  • สั่งตรวจทางรังสีวิทยา







  • คำสั่งทางโภชนาการ







  • กิจกรรม หรือ หัตถการที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วย







  • ส่งข้อมูลหัตถการบางส่วนไปยังระบบงานเฝ้าระวังการติดเชื้อ







  • ส่งผ่าตัด พร้อมระบบการจองเลือดไปยังระบบธนาคารเลือด







  • สอบถามตารางการใช้ห้องผ่าตัด เพื่อทำการวางแผนการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยล่วงหน้า







  • รองรับการนัดหมายผู้ป่วย พยาบาลผู้ป่วยในสามารถนัดหมาย และสอบถามตารางการออกตรวจของระบบผู้ป่วยนอกได้ทันที และข้อมูลที่ทำการนัดหมายจะเชื่อมโยงถึงกันอัตโนมัติ







  • อำนวยความสะดวกในการสอบถาม Drug Profile และพิมพ์เอกสาร MAR สามารถสอบถามประวัติการใช้ยา จำนวนวันที่ผู้ป่วยได้รับยา และวันที่แพทย์สั่งหยุดรายการยาแต่ละรายการ นอกจากนี้ยังรองรับการพิมพ์เอกสาร Medication Admin Record เพื่อใช้บริหารจัดการยา







  • ระบบตรวจสอบและป้องกันความผิดพลาด





  • 1.8 ทันตกรรม




     ระบบทันตกรรม มีความโดดเด่นการแสดงผลการตรวจในรูปแบบภาพ 3 มิติ ซึ่งบริษัท ฯ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการวินิจฉัย และการรักษาพยาบาลของทันตแพทย์ โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานพิเศษที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการผสมภาพฟันแท้ และฟันน้ำนมเข้าด้วยกัน หรือการปรับเปลี่ยนตำแหน่งฟัน ให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งฟันจริงของผู้ป่วยแต่ละท่านให้มากที่สุด ซึ่งได้จัดทำซี่ฟันสำรองไว้สำหรับกรณีผู้ป่วยมีฟันเกินจากปกติ สามารถเลือกซี่ฟันหรือระบุด้านจากภาพฟันได้โดยง่าย พร้อมทั้งมีความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Oral Examination การวางแผนการรักษา เข้าไปสู่กระบวนการให้การรักษาพยาบาล การคิดค่ารักษาพยาบาลที่หลากหลาย ทั้งระบบแบ่งจ่าย และการควบคุมยอดคงเหลือ ในงานจัดฟัน การกระจายรายได้ค่าแพทย์ออกจากค่ารักษาพยาบาล เพื่อการนำส่งรายได้ให้กับสรรพากรอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการสั่งตรวจทางรังสีวิทยา สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ บันทึกรายการยา หรือเวชภัณฑ์ที่มีการใช้ที่หน่วยงานทันตกรรม การส่งผ่าตัดไปยังระบบห้องผ่าตัด ระบบการจัดคิวการตรวจของทันตกรรม และระบบการนัดหมายซึ่งมีความยืดหยุ่น รองรับการนัดหมายที่หลากหลาย 

    Oral Examination








  • แสดงภาพฟันในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวินิจฉัย ของแพทย์ ซึ่งสามารถดูรูปภาพฟันได้ทุกมุม







  • ปรับตำแหน่งฟันให้เหมือนจริง ในการตรวจสภาพฟัน และหากพบว่ามีฟันที่ขึ้นไม่สมบูรณ์ หรือฟันเก สามารถ Rotate ซี่ฟันให้ใกล้เคียงสภาพฟันจริงได้







  • การรวมภาพ ฟันแท้ และฟันน้ำนม กรณีที่ผู้ป่วยที่ยังคงมีฟันน้ำนมเหลืออยู่บางซี่ สามารถดึงภาพฟันน้ำนมเข้ามาผสมในภาพฟันแท้ และในกรณีกลับกัน สำหรับเด็กที่มีฟันแท้ขึ้นบางส่วนสามารถดึงภาพฟันแท้ แทรกเข้ามาในภาพฟันน้ำนม







  • เพิ่มซี่ฟันกรณีผู้ป่วยมีฟันเกิน







  • การวางแผนการรักษา บันทึกแนวทางในการรักษา ซึ่งสามารถลงรายละเอียดในแต่ละซี่ที่ต้องทำการรักษา รวมถึงการประมาณการค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้







  • การบันทึกการรักษาพยาบาล เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจาก Oral Examination และ การวางแผนการรักษาเข้ามาดำเนินการ โดยแสดงภาพ สีและสัญลักษณ์ ในการให้การรักษาแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวินิจฉัยของทันตแพทย์







  • อำนวยสะดวกในการเลือกซี่ฟัน หรือ ด้านของฟัน สามารถเลือกซี่ฟันหรือระบุด้านจากภาพฟัน







  • รองรับการคิดค่ารักษาพยาบาลที่หลากหลาย







  • อำนวยความสะดวกในการรับคำสั่งทางการแพทย์ เชื่อมโยงข้อมูลการสั่งตรวจจากพยาบาลหน้าห้องตรวจกระจายไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการทำงานที่สะดวกและรวดเร็ว







  • สั่งตรวจทางรังสีวิทยา







  • สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ







  • บันทึกรายการยา และเวชภัณฑ์







  • ส่งผ่าตัดทางทันตกรรม







  • ระบบการจัดคิวการรักษาทางทันตกรรม เป็นการจัดระบบคิวการรักษาที่สัมพันธ์กับการจัดทำวัสดุทางทันตกรรม ที่แตกต่างตามประเภทของงาน เช่น งานทันตกรรมประดิษฐ์




  • 1.9 เวชระเบียน



     ระบบการลงทะเบียนของทางบริษัท ฯ ทำการพัฒนาเพื่อรองรับ และอำนวยความสะดวกในการทำงานกับเจ้าหน้าที่ทะเบียน เวชระเบียน และนักสถิติ  ทั้งในการเพิ่มความถูกต้อง และป้องกันความผิดพลาดในการลงทะเบียน  เช่น แก้ปัญหาในการสะกดคำภาษาอังกฤษ ของเจ้าหน้าที่ โดยระบบอัตโนมัติในการแปลชื่อภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ  หรือการตรวจสอบความผิดพลาดในการบันทึกเลขที่บัตรประชาชนผ่านระบบ Check Digits   การตรวจสอบ และการยืนยันตัวตนผู้ป่วย  การตรวจสอบสิทธ์การรักษาของผู้ป่วย    รวมถึงการลดความซ้ำซ้อนของงาน ในการจัดทำฐานข้อมูล ประกันสังคม  DRG หรือข้อมูลโครงการเบิกจ่ายตรง  ที่ต้องมีการรับ - ส่งไปยังหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาลให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ต่อการทำงาน

    การลงทะเบียนผู้ป่วย








  • เชื่อมต่อข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยกับฐานข้อมูลกรมการปกครอง






  • เชื่อมต่อข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยจากหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาลเข้าสู่ระบบ






  • ลดความยุ่งยากในการแปลงชื่อภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษอัตโนมัติ






  • การคำนวณวันเดือนปี ทางจันทรคติ






  • การคำนวณอายุอัตโนมัติ จากวัน เดือน ปีเกิด ของผู้ป่วยชาวไทย และต่างชาติ และมีระบบการตรวจสอบข้อมูลกรณีผู้ปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูลวันเดือนปีเกิดผิดพลาด






  • ระบบการ Check Digits เลขที่บัตรประชาชน ตามเกณฑ์กรมการปกครอง กรณีที่เป็นการบันทึกข้อมูลโดยผู้ปฏิบัติงาน ไม่ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูล






  • ระบบการบันทึกและแสดงข้อมูลนามแฝง กรณีที่ผู้ป่วยต้องการปกปิดข้อมูล ระบบจะอำนวยความสะดวกในการแสดงนามแฝงในเอกสารที่ต้องการปกปิด หรือในการสอบถามข้อมูล






  • ระบบการป้องกันการลงทะเบียนซ้ำซ้อน






  • การกระจายผู้ป่วยจากงานทะเบียน ผ่านระบบการนัดหมาย โดยผู้ป่วยที่มีการนัดหมายสามารถให้ผู้ป่วยเข้าไปติดต่อโดยตรงที่หน่วยงานที่รับบริการ หรือ จะทำการลงทะเบียนจากงานทะเบียนได้ทันที ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น คลินิก แพทย์ หรือสิทธ์การรักษาจะเชื่อมโยงให้อัตโนมัติ


  • การตรวจสอบสิทธ์








  • ระบบการตรวจสอบสิทธ์การรักษา และควบคุมเงื่อนไขการรักษาพยาบาล


  • ระบบป้องกัน ตรวจสอบข้อมูล และ Audit Trail








  • ป้องกันการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาด และ ปัญหา Blood Transfusion โดยการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ Blood Group จากระบบห้องปฏิบัติการ
  • กำหนด Authority ในการบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล และสามารถสอบถามการปรับเปลี่ยนข้อมูลจาก Log File ได้


  • ระบบเวชระเบียน และสถิติ








  • ควบคุมและติดตามการเข้า-ออก ของ Medical Record ทุกรายการรวมถึงเอกสารการออกใบแทน เพื่อติดตาม และตรวจสอบกรณีที่แฟ้มข้อมูลสูญหาย
  • ระบบการยืมแฟ้มเวชระเบียน Online เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน สามารถตรวจสอบข้อมูลในการติดตามแฟ้มเวชระเบียน พร้อมทั้งลดการทำงานที่ต้องอาศัยการสื่อสารทางโทรศัพท์
  • รองรับการบันทึกข้อมูล ICD10 หรือ ICD10TM และ ICD9CM ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งมีการสืบค้นข้อมูลที่สะดวก ทั้งจากชื่อย่อ ชื่อเหมือน การกำหนดกลุ่มข้อมูลโรคตามสาขา หรือตามประวัติการรักษาของแพทย์


  • การรับ-ส่งข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ

    การรับข้อมูลการส่งข้อมูล
    ทะเบียนผู้ป่วยประกันสังคม
    ข้อมูลผู้ป่วยนอก
    ข้อมูลผู้ป่วยใน
    ข้อมูลโรคเรื้อรัง
    ทะเบียนผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพD&G Data
    ทะเบียนผู้ป่วยโครงการเบิกจ่ายตรงข้อมูลค่ารักษาพยาบาลของโครงการเบิกจ่ายตรง BillTranYYYYMMDD.txt








  • จัดทำระบบ Audit Trail ในการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง


  • ข้อมูลเพื่อการบริหาร








  • สามารถจัดทำข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลกับเป้าหมาย การสะสมยอด และแสดงข้อมูลให้เห็นในภาพรวม ซึ่งเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ และการบริหารจัดการของผู้บริหาร ตัวอย่างรายงานเพื่อการบริหารของแผนกเวชระเบียน




  • 1.10 ห้องตรวจแพทย์




      ระบบห้องตรวจแพทย์ เป็นระบบสนับสนุนให้การทำงานของแพทย์ ให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทำการเรียกดูประวัติการรักษาผ่านระบบ Electronic Medical Record โดยมีระบบการบันทึกข้อมูลที่ง่ายต่อการปฏิบัติงานของแพทย์ การถ่ายภาพ วาดภาพ หรือจัดทำรูปแบบของการบันทึกข้อมูลที่เหมาะสมแต่ละสาขา จัดระบบการให้ความรู้กับผู้ป่วย (Patient Education ) พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจทางรังสี และภาพ X-Ray Digital ในกรณีที่มีการเชื่อมโยงจากระบบ PACS การบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรค และเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่งานเวชระเบียน และการบันทึกรายการยาเชื่อมโยงไปยังระบบงานเภสัชกรรม เพื่อความรวดเร็วในการบริการ และลดความผิดพลาดจากการอ่านใบสั่งยา และระบบการแจ้งเตือนกรณีผู้ป่วยมีการแพ้ยา หรือ Drug Interaction การสั่งยาซ้ำซ้อน จากในระบบห้องตรวจแพทย์ทันที รวมถึงการบันทึกข้อมูลค่าตรวจรักษา จากระบบงานห้องตรวจเชื่อมโยงไปยังระบบงานการเงิน และระบบบัญชีแพทย์







  • เรียกดูประวัติการรักษาผ่าน EMR (Electronic Medical Record)
  • เชื่อมโยงผลการตรวจรักษาจากหน่วยส่งตรวจ
  • การบันทึกข้อมูล Diagnosis
  • การบันทึกรายการยา
  • ระบบป้องกันความผิดพลาดในการสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
  • รองรับการบันทึกค่าตรวจรักษา และเชื่อมโยงข้อมูลที่ถูกต้องไปยังแผนกการเงิน และบัญชี
  • มีระบบการสอบถาม และพิมพ์รายงานสรุปค่าตรวจรักษาของแพทย์ได้ตลอดเวลา
  • บันทึกค่าตรวจรักษาของผู้ป่วยใน ได้จากระบบแพทย์ OPD





  • 1.11 ศูนย์ตรวจสุขภาพ




      ระบบตรวจสุขภาพ รองรับทั้งการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาล และการตรวจสุขภาพนอกโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการผู้ป่วยให้ได้รับความรวดเร็ว ความถูกต้องของผลการตรวจรักษา ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และ ลดความผิดพลาดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน โดยมีระบบป้องกันการส่งตรวจผิดพลาดจากการเลือก Package ไม่ตรงกับเพศของผู้ป่วย หรือ ไม่ตรงตามเงื่อนไขของบริษัทคู่สัญญา เชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจทางรังสี และการส่งตรวจพิเศษ เข้ามายังระบบ Checkup ทันทีที่ผลการตรวจเสร็จสิ้น สามารถเก็บประวัติและผลการเปรียบเทียบผลการตรวจร่างกายของผู้ป่วยที่มาแต่ละครั้ง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการรายงานผลได้ตามความต้องการ ทั้งรูปแบบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือจัดส่งข้อมูลในรูปแบบ File 






  • รองรับการส่งตรวจสุขภาพ ภายใน และภายนอกโรงพยาบาล
  • ลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงานโดยทำการ Import ข้อมูลการตรวจร่างกายจากภายนอกโรงพยาบาล
  • ลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน
  • หมดปัญหากับความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล
  • สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการรายงานผลได้ตามความต้องการ




  • 1.12 หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่




      ระบบ พัฒนาอยู่บนสถาปัตยกรรม Web Application เพื่อให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสุขภาพนอกสถานที่มายังฐานข้อมูลของโรง พยาบาลทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน โดยมี Function ในการ Import File ฐานข้อมูลผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ พร้อมโปรแกรมการตรวจสุขภาพ มีการแบ่งแยกตามเพศชาย และหญิงอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการส่งตรวจผิดพลาด เจ้าหน้าที่สามารถทำการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล และการสั่งพิมพ์รายงานทะเบียน หรือ Sticker เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกหน่วย 
         รองรับการลงทะเบียนในหน่วยตรวจ ในกรณีที่มีการลงทะเบียนผู้เข้ารับการตรวจเพิ่มเติมจากที่เตรียมข้อมูลจาก โรงพยาบาล สามารถทำการเพิ่มเติมได้ทันที รวมถึงการสั่งพิมพ์ Sticker หรือ Bar Code ได้ทันทีจากหน่วยตรวจ พร้อมทั้งการบันทึกข้อมูลการรับสิ่งส่งตรวจ ระบบสามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้รับการตรวจท่านใดที่มีการลงทะเบียนแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสิ่งส่งตรวจให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อจัดเก็บกับมาโรงพยาบาลได้ ทันที ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการที่ต้องเสียเวลาไปเก็บสิ่งส่งตรวจเพิ่มเติมใน ภายหลัง


    1.13 ฝากครรภ์


       ระบบฝากครรภ์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียน และจัดเก็บข้อมูล ของสตรีมีครรภ์ในโรงพยาบาล ประวัติการตั้งครรภ์ รวมถึงการคำนวณอายุครรภ์จากประวัติการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายอัตโนมัติ มีระบบการเตือนภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยให้กับสูตินารีแพทย์ รวมถึง การบันทึกข้อมูลการตรวจครรภ์ที่เปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง คำสั่งทางการแพทย์ การนัดหมายตรวจครรภ์ รวมถึงการให้คำปรึกษา และแนะนำในการปฏิบัติตัวของสตรีมีครรภ์





    1.14 ห้องปฏิบัติการ




       ระบบห้องปฏิบัติการ เป็นระบบสนับสนุนบริการ จึงรองรับการส่งตรวจทั้งจากหน่วยงานภายใน และภายนอกองค์กร ลักษณะของระบบงานจึงเป็นทั้งระบบการลงทะเบียนรับข้อมูล และลงทะเบียนส่งตรวจควบคู่กัน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยในการกำหนดระดับในการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละส่วนงาน พร้อมทั้งระบบป้องกันการบันทึกข้อมูลผิดพลาดในกรณีที่ไม่ได้ทำการเชื่อมกับระบบ LIS แต่ในกรณีที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ LIS ข้อมูลที่ผ่านการยืนยันความถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะส่งผ่านเข้าสู่ระบบงานโรงพยาบาลอัตโนมัติ พร้อมทั้งการรายงานผลกลับไปยังหน่วยงานส่งตรวจอัตโนมัติ ในกรณีที่ LAB บางรายการต้องการให้มีการปิดบังผล สามารถดำเนินการปิดบังผลโดยตรงจากระบบ LIS หรือ ดำเนินการปิดบังผลผ่านระบบงานโรงพยาบาล สำหรับผลการตรวจที่เป็นการส่งตรวจภายนอกโรงพยาบาล สามารถทำการบันทึกเพิ่มเติมเข้าสู่ระบบ หรือทำการ Scan ผลการตรวจดังกล่าวเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการรักษาต่อไป 

    การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ







  • รองรับการส่งตรวจจากหน่วยงานภายใน และภายนอกโรงพยาบาล ระบบจึงสามารถทำการลงทะเบียนรับสิ่งตรวจ และสามารถทำการส่งตรวจได้ภายในระบบเดียวกัน






  • ป้องกันการจัดเก็บ Specimen ผิดพลาด โดยการเชื่อมโยงข้อมูลวิธีการจัดเก็บ Specimen จากห้องปฏิบัติไปยังหน่วยส่งตรวจ เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บ Specimen ที่ผิดพลาด






  • ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจปริมาณมากได้ภายในเวลาเดียวกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่เสียเวลาในการลงทะเบียน และสามารถรองรับงานที่มีปริมาณมากได้






  • ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจอัตโนมัติกรณีที่เป็นการตรวจสุขภาพที่มีปริมาณข้อมูลมาก






  • Reject Specimen ในกรณีที่สิ่งส่งตรวจมีปัญหา โดยสามารถทำการระบุเหตุผลในการไม่รับสิ่งส่งตรวจ เพื่อให้ใช้ในการออกรายงาน และการตรวจสอบภายหลัง






  • กำหนดระยะเวลาในการออกผล และเชื่อมโยงข้อมูลแจ้งไปยังหน่วยส่งตรวจ ซึ่งเป็นการลดปัญหาในการติดตามผลการตรวจของพยาบาลหน้าห้องตรวจ หรือที่หอผู้ป่วย






  • รองรับการส่งตรวจซ้ำ (Repeat Lab ) ในกรณีที่ผลการตรวจไม่น่าเชื่อถือ ระบบเปิดให้ทำการส่งตรวจซ้ำ พร้อมทั้งระบุเหตุผล โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายผู้ป่วยเพิ่มเติม
  • การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ







  • รองรับการเชื่อมโยงกับระบบ LIS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ






  • รองรับการจัดพิมพ์ Bar Code ทั้งจากระบบ HIS หรือ LIS






  • รองรับระบบการยืนยันการตรวจอัตโนมัติจากระบบ LIS






  • รองรับความกำหนดค่าปกติ Normal Value






  • เชื่อมโยงผลการตรวจกลับไปยังหน่วยงานส่งตรวจอัตโนมัติ






  • รองรับการ Scan ผลการตรวจจากภายนอกระบบ




  • 1.15 วิสัญญี



     ระบบวิสัญญี มีความเชื่อมโยงการทำงานกับระบบห้องผ่าตัด และรองรับการแจ้งดมยานอกหน่วยงานวิสัญญี พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด รวมถึงการจัดเก็บผลงานทางวิสัญญีพยาบาลในการไปเยี่ยมผู้ป่วย ทั้งก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด หลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยนอนสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น ระบบทำการจัดเก็บข้อมูลยาที่ผู้ป่วยได้รับ ประเภทการดมยา ปัญหา และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่เกิดขึ้น การบันทึกข้อมูลรายการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ เพื่อเชื่อมโยงไปยังระบบการเงิน และการรับรู้รายได้ตามเงื่อนไขสิทธ์การรักษานั้น รวมถึงการควบคุมรายการสินค้าที่มีการใช้ไป และคงเหลือในคลังวิสัญญี ในด้านค่าตอบแทนของบุคคลากร ระบบได้มีการจัดเก็บผลการเข้าปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ และนำข้อมูลต่าง ไปจัดทำรายงานเชิงสถิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการบริหารจัดการในห้องวิสัญญี 





    1.16 เฝ้าระวังการติดเชื้อ



     ระบบทำการเชื่อมโยงข้อมูลการติดเชื้อของผู้ป่วย และบุคลากรในโรงพยาบาล จากทุกหน่วยบริการทางการแพทย์ ข้อมูลอาการที่ปรากฏ ( Symptomatic ) หัตถการ หรือการใส่เครื่องมือพิเศษในร่างกาย ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการติดเชื้อ จำนวนวันที่มีการใส่เครื่อง ดังกล่าว ข้อมูล แผลผ่าตัด ( Wound Type ) จากระบบงานห้องผ่าตัด ผลการตรวจทางจุลชีววิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สนใจ รายการยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหน่วยงานเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถสอบถามและนำมาใช้ในการประเมินภาวะการติดเชื้อของผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน รวมถึง การจัดเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ของบุคคลากรในโรงพยาบาล โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์อัตราการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยบริการ ประเภทการติดเชื้อ สาเหตุของการติดเชื้อ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการ ป้องกันการเกิดการติดเชื้อในองค์กร 




    1.17 กายอุปกรณ์


    งานกายอุปกรณ์ อำนวยความสะดวกต่อผู้ปฏิบัติงานในการที่สามารถติดตาม หรือตรวจสอบสถานะของการซ่อม หรือการสั่งทำกายอุปกรณ์จากระบบได้ตลอดเวลา โดยมีการแยกประเภทบริการกายอุปกรณ์ เช่น แขนเทียม , ขาเทียม , เสริมขา , รองเท้า ฯลฯ ซึ่งสามารถเพิ่มเติม ประเภทกายอุปกรณ์ได้ไม่จำกัด และยังเชื่อมโยงข้อมูลการสั่งทำกายอุปกรณ์ไปตามภาระงานของช่างที่ปฏิบัติการ อุปกรณ์ที่ใช้ ไปจนถึงการประเมินราคาของกายอุปกรณ์ต่างๆ ที่สั่งทำ พร้อมทั้งการนัดหมายผู้ป่วยมารับอุปกรณ์ ตามวันที่กำหนด 



    1.18 โภชนาการ




    อำนวยความสะดวกในการสั่งอาหารผู้ป่วย และอาหารญาติ จากระบบผู้ป่วยนอก และระบบผู้ป่วยใน โดยแยกประเภทอาหาร ตามรูปแบบอาหาร เช่น อาหารอ่อน อาหารเหลว ฯลฯ หรือจัดประเภทแยกตามโรค เช่น อาหารผู้ป่วยเบาหวาน , อาหารผู้ป่วยโรคไต ฯลฯ พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูล ศาสนา โรคประจำตัว และการงดส่วนประกอบของอาหาร เช่น งดเค็ม ไม่ทานนม เป็นต้น ซึ่งโภชนากรสามารถ นำข้อมูลทั้งหมดมาทำการสรุปรายการอาหารที่ต้องจัดทำแยกตามประเภท และหน่วยบริการ นอกจากนี้ระบบสามารถทำการสั่งพิมพ์ Label ติดถาดอาหารเพื่อลดความผิดพลาด และปริมาณงานในการเขียน พร้อมทั้ง จัดพิมพ์รายงานการจัดส่ง และรายงานการตรวจสอบอาหาร ในส่วนการคิดราคาอาหาร รองรับทั้งการคิดแบบเหมาจ่ายต่อวัน หรือการคิดราคาอาหารต่อมื้อ โดยยอดรายการค่าอาหารที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงไปยังระบบการเงินอัตโนมัติ 




    1.19 Pathology




     รองรับการลงทะเบียนการตรวจจากหน่วยงานภายในโรงพยาบาล และการส่งตรวจจากภายนอกโรงพยาบาล เช่น การรับส่งตรวจจากโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือสถานีอนามัย โดยใน การรับ Specimen สามารถทำการกำหนดเลขที่ Paraffin Block ได้อัตโนมัติจากระบบ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกต่อการใช้งาน ของพยาธิแพทย์ โดยมีการจัดทำ Preset ในการบรรยายผล Gross Description , Microscopic Finding และการบันทึกผลการวินิฉัย (Diagnosis) รวมถึงการจัดแต่งตัวอักษร หรือขนาดได้ตามความต้องการ การแทรกภาพถ่าย Gross และ Micro ของแต่ละ Specimen เข้าไปในการบรรยาย และรายงานผล Surgical Pathology 





    1.20 ห้องผ่าตัด




     ระบบห้องผ่าตัด รองรับการส่งผ่าตัด จองห้องผ่าตัด และการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด ทดแทนการส่งเอกสารแจ้งผ่าตัด พร้อมทั้งแสดงข้อมูลตารางการผ่าตัด ( OR Schedule ) ซึ่งทุกหน่วยงานที่ต้องการส่งผ่าตัดสามารถทำการสอบถามสถานะ และทำการจองห้องผ่าตัดผ่านระบบอัตโนมัติ แก้ปัญหาความยุ่งยากในการปันค่าใช้จ่ายคนไข้ตามสิทธ์ต่างๆ ให้หมดไป เนื่องจากระบบจะมีหน้าที่แยกค่าใช้จ่าย ซึ่งสิทธ์ต่างๆ อนุญาตในแต่ละรายการให้อัตโนมัติ นอกจากนั้นยังรองรับค่าผ่าตัดเหมาจ่าย และคิดต้นทุนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จริง พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลส่งตรวจและติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ และพยาธิกายวิภาค ส่งข้อมูลการวินิจฉัย (ICD10) และรหัสการผ่าตัด (ICD9CM) ไปยังระบบงานเวชระเบียน ส่งข้อมูลแผลผ่าตัดเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ เชื่อมโยงข้อมูลการใช้ยา และเวชภัณฑ์ ไปคลังห้องผ่าตัด CSSD ส่งข้อมูลการรักษาพยาบาลไปยังระบบการเงิน และเชื่อมโยงข้อมูลผลการผ่าตัดไปห้องตรวจแพทย์ และการพยาบาล พร้อมทั้งดัชนีชี้วัด และสถิติที่เกิดขึ้นในห้องผ่าตัด 






  • รองรับการส่งผ่าตัด จองห้องผ่าตัด และการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด ทดแทนการส่งเอกสารแจ้งผ่าตัด โดยสามารถแยกแยะความเร่งด่วนในการผ่าตัด Elective \ Emergency \Urgent ในการส่งตรวจ






  • แสดงข้อมูลตารางการผ่าตัด ( OR Schedule ) ซึ่งทุกหน่วยงานที่ต้องการส่งผ่าตัดสามารถทำการสอบถามสถานะ และทำการจองห้องผ่าตัดผ่านระบบอัตโนมัติ โดยเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดสามารถจัดตาราง และลำดับการผ่าตัดได้ทันที






  • กระจายห้องผ่าตัดตามสาขาแพทย์ หรือตามรหัสแพทย์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดความผิดพลาดในการจัดตารางการใช้ห้องผ่าตัด จึงมีระบบช่วยในการกระจายห้องผ่าตัด สำหรับโรงพยาบาลที่มีการกำหนดห้องผ่าตัด และเครื่องมือไว้กับการผ่าตัดเฉพาะสาขา






  • ระบบการยืนยันตัวตนผู้ป่วย






  • การตรวจสอบ และยืนยันตัวตนของผู้ป่วยผ่านการจัดเก็บภาพ






  • การตรวจสอบ และยืนยันตัวตนของผู้ป่วยผ่านระบบ Finger Print






  • การตรวจสอบ และยืนยันตัวตนผู้ป่วยทั้งการสอบถามชื่อผู้ป่วย






  • การตรวจสอบ และยืนยันตัวตนผู้ป่วยจาก Bar code ในบัตรประจำตัวผู้ป่วย หรือ Wrist Band
  • การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานห้องผ่าตัด







  • ส่งตรวจและติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ และพยาธิกายวิภาค






  • ส่งตรวจและติดตามผลทางรังสีวิทยา






  • เชื่อมโยงข้อมูลการวินิจฉัย (ICD10) และรหัสการผ่าตัด (ICD9CM) ไปยังระบบงานเวชระเบียน






  • เชื่อมโยงข้อมูลแผลผ่าตัดเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ






  • เชื่อมโยงข้อมูลการใช้ยา และเวชภัณฑ์ ไปคลังห้องผ่าตัด CSSD และรายงานการใช้ยาเสพติด






  • เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาพยาบาลไปยังระบบการเงิน






  • เชื่อมโยงข้อมูลผลการผ่าตัดไปห้องตรวจแพทย์ และการพยาบาล






  • อำนวยความสะดวกในการสร้าง Template ผลการผ่าตัด ของศัลยแพทย์แต่ละท่าน






  • รองรับการจัดเก็บผลงานของเจ้าหน้าที่ ระบบทำการจัดเก็บผลงาน และสรุป Work Load เพื่อเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่




  • 1.21 ห้องคลอด


     รองรับการลงทะเบียนของมารดาที่ทำการคลอด โดยจัดเก็บประวัติการตั้งครรภ์ หรือเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์จากระบบ ANC (ในกรณีที่โรงพยาบาลมีการจัดซื้อระบบ ANC) การคำนวณวันครบกำหนดคลอด จากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย การจัดเก็บข้อมูลภาวะเหนี่ยวนำในการคลอด ข้อบ่งชี้ ข้อมูลรกคลอด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับมารดา 
         ลงทะเบียนเด็กแรกเกิด โดยเชื่อมโยงข้อมูลประวัติจากฐานข้อมูลมารดา และมีการคำนวณวันเดือนปีเกิด ทางจันทรคติให้อัตโนมัติ อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารใบแจ้งเกิดจากระบบ นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บข้อมูลของเด็กแรกเกิด เช่น น้ำหนัก รอบหัว รอบตัว Apgar Score ความผิดปกติของเด็ก ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น 
         ทางด้านค่ารักษาพยาบาล ระบบรองรับการบันทึกรายการยา และเวชภัณฑ์ของมารดา และทารกแรกเกิด การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่งตรวจทางรังสีวิทยา การสั่งหัตถการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงค่ารักษาพยาบาลไปยังระบบงานการเงิน 


    1.22 กายภาพบำบั


    รองรับการส่งปรึกษาทางด้านกายภาพบำบัด จากทุกหน่วยบริการทางการแพทย์ และการลงทะเบียนผู้ป่วยจากการนัดหมาย เพื่อทำการเปิดประวัติการตรวจรักษาของแผนกกายภาพบำบัด บันทึกและจัดเก็บข้อมูลการตรวจร่างกาย วัตถุประสงค์ การประเมิน และการวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วย หัตถการกายภาพบำบัด โดยสามารถกำหนดตำแหน่งที่ต้องทำการรักษาใน Diagram ภาพร่างกาย การจัดเก็บข้อมูลนักภายภาพที่ให้การดูแลฟื้นฟู การบริหารจัดการการใช้ห้อง และการบริหารเวลาทำงานของนักกายภาพบำบัด เช่น จัดเวลาการใช้ห้อง Treatment ,การไปให้บริการที่ Bed Site หรือ Floor Exercise เป็นต้น รวมถึงหัตถการต่างๆที่เกิดขึ้นในการรักษาแต่ละครั้ง ซึ่งรองรับการคิดค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งที่มารับบริการ หรือการคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย และสามารถสอบถามประวัติการทำกายภาพ และประวัติการรับชำระของผู้ป่วยย้อนหลังได้ไม่จำกัด 



    1.23 นัดหมาย


        ระบบการนัดหมายผู้ป่วย และการส่งตรวจล่วงหน้า การนัดหมายเป็นระบบงานที่แทรกไปอยู่ในทุกระบบงาน พร้อมทั้งสามารถผูกการส่งตรวจ ไว้กับการนัดหมาย กรณีที่มีการเลื่อนการนัดหมาย การส่งตรวจต่างๆ จะทำการปรับเลื่อนให้เองอัตโนมัติ ระบบกระจายเวลานัดหมายอัตโนมัติ โดยระบบทำการนัดหมายผู้ป่วยให้ตรงตามเวลาออกตรวจที่ว่างอยู่ การนัดตามช่วงเวลา ซึ่งกำหนดช่วงเวลาตามที่ผู้ป่วย หรือเจ้าหน้าที่ที่นัดหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อไม่ให้เกิดการนัดหมายปริมาณมากเกินไป จึงมีระบบควบคุมจำนวนการนัดหมายตามแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละคลินิกสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม แสดงตารางเปรียบเทียบการออกตรวจของแพทย์ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับเจ้าหน้าที่ในการนัดหมายแพทย์มากกว่า1 ท่าน และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วย เพื่อจะได้นัดหมายแพทย์ในเวลาใกล้เคียงกัน ระบบการป้องกันการนัดซ้ำ หรือ แจ้งเตือนกรณีแพทย์งดออกตรวจ โดยระบบจะอัตโนมัติตรวจสอบกับข้อมูลจากตารางการออกตรวจของแพทย์ หรือตารางนัดหมายที่มีการนัดหมายไปแล้ว การนัดแทรก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็น หรือแพทย์อนุญาตให้มีการนัดเพิ่มเติมนอกเหนือจากตาราง ระบบสามารถเปิดให้ทำการนัดแทรก หรือนัดหมายนอกตารางนัดได้ การเลื่อนนัด หรือการยกเลิกนัด ระบบรองรับการเลื่อนนัดรายคน หรือ เลื่อนนัดปริมาณมากกรณีที่แพทย์งดออกตรวจ หรือกรณีที่ผู้ป่วยยกเลิกนัด 



    1.24 ธนาคารเลือด

    รองรับการจัดเก็บ และลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต ซึ่งมีการจัดเก็บประวัติของการบริจาค และข้อมูลความผิดปกติของโลหิตในการมาบริจาคแต่ละครั้ง โดยนำจำนวนครั้งมาใช้ในการจักทำรายงานเพื่อขอเครื่องราช ฯ และเชื่อมโยงข้อมูลการบริจาค ผ่านกระบวนแตกหน่วยเข้าสู่ธนาคารโลหิต รวมถึงการบันทึกรับผลิตภัณฑ์โลหิตจากสภากาชาด ซึ่งจะมีการคำนวณวันที่หมดอายุของแต่ละ Unit ให้อัตโนมัติ และ Split Pack ของโลหิต กรณีที่มีการนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก 
         ในส่วนการขอใช้โลหิต ระบบรองรับการลงทะเบียนจากหน่วยงานภายใน และภายนอกโรงพยาบาล เข้าสู่กระบวนการ Cross Matching โดยมีการเชื่อมโยงค่าบริการ Cross Matching เข้าระบบการเงินอัตโนมัติ มีระบบเตือนกรณีที่ผลการตรวจ Group เลือดขัดแย้งกับประวัติผู้ป่วย การพิมพ์เอกสารคล้องถุงโลหิต จัดเก็บประวัติการจองโลหิต ประวัติการ Cross Matching แล้วไม่ผ่าน รวมถึงการยกเลิกการจองโลหิตอัตโนมัติ หากไม่ได้มารับเกินวันที่กำหนด 
         รองรับการจำหน่ายโลหิตให้กับผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลอื่นๆ ที่แจ้งขอยืมเลือด พร้อมทั้ง อัตโนมัติจำหน่ายโลหิตที่หมดอายุ หรือการจำหน่ายจากสาเหตุที่ ถุงแตก รั่ว ซึม นอกจากนี้ ยังมีระบบการรับโลหิตคืน กรณีที่ใช้ไม่หมด ทั้งในแบบที่ต้องคืนเงิน หรือไม่ต้องคืนเงินผู้ป่วย 






    1.25 Cytology


       รองรับการส่งตรวจในระบบ Gynecological ซึ่งสามารถทำการบันทึกประวัติที่สำคัญ เช่น ประจำเดือนครั้งสุดท้าย ประวัติการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การบันทึกผลการตรวจทางด้าน Gynecological ข้อมูลความน่าเชื่อถือ ความพอเพียงของเซลล์ จากสิ่งส่งตรวจที่ได้รับ ผลการตรวจ การประเมินผลทางด้านฮอร์โมน และการให้คำแนะนำผู้ป่วยในการดูแล และปฏิบัติตน 
         ในด้าน None Gynecological มีระบบอำนวยความสะดวกในการบันทึกผล และการวินิจฉัย โดยการจัดเตรียม Preset ในการบันทึกผลการตรวจ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน 
         นอกจากนี้ได้มีการจัดเก็บภาพเซลล์ หรือรองรับรับการ Scan ผลการตรวจจากนอกระบบ และการกำหนดระดับในการเข้าถึงข้อมูล การตรวจสอบ และยืนยันผลการตรวจของ Cyto Screener และ Pathologist 



    1.26 Document Archiving



    ระบบ Document Archiving จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก และลดปัญหาการรอคอยแฟ้มของแพทย์ ระยะเวลาในการรอคอยของผู้ป่วย ลดปริมาณการจัดเก็บเอกสาร และการสูญเสียบุคลากรไปกับการเดินเอกสาร รวมถึงยังเป็นระบบสำรองข้อมูล (Backup Data)ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลจากระบบงานหลักของทางโรงพยาบาลได้ เนื่องจากระบบการใช้งาน Document Archiving พัฒนาให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานอ้างอิงมาตรฐานของ Windows ซึ่งมีการใช้งานอยู่ทั่วไป จึงง่ายต่อการเรียนรู้ และมีระบบบริหารจัดการในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งรองรับการจัดหมวดหมู่เอกสารให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม สิ่งที่โดดเด่น และสร้างความแตกต่างของระบบคือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการบันทึกข้อมูลผ่านระบบห้องตรวจแพทย์ จะเชื่อมโยง และจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบ Document Archiving ทันที โดยไม่ต้องทำการ Scan เอกสารอีก หากจะมีการ Scan ก็จะเกิดในกรณีเอกสาร Consent Form ซึ่งต้องการลายเซ็นผู้ป่วยเท่านั้น เป็นการวางระบบให้ช่วยลดภาระด้านต้นทุน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในระยะยาว และเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จัดเก็บใน Electronic Medical Record จึงได้พัฒนาระบบ Audit OPD Chart ขึ้นเพื่อเป็นระบบการตรวจสอบข้อมูล Online ของฝ่ายการแพทย์ ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังแพทย์แต่ละท่าน






  • แพทย์สามารถเรียกดู OPD Card ได้ทันที ผ่านระบบ Document Archiving






  • ลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยทำให้ Service Time รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจกับผู้ป่วย






  • ลดปริมาณแฟ้มที่ต้องเก็บในโรงพยาบาล






  • จัดทำเป็นระบบสำรองข้อมูล (Backup Data) กรณีไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบ HIS ได้






  • การทำงานของ ระบบ Document Image ง่ายต่อการเรียนรู้ ผู้ใช้งานสามารถเริ่มใช้งานระบบได้ โดยไม่ต้องผ่านการฝึกอบรม






  • อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้โดยระบบการจัดหมวดหมู่ของเอกสาร ซึ่งสามารถกำหนดให้แปรผันไปตามกลุ่มผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการใช้งาน






  • จัดส่งข้อมูลให้กับภายนอกโรงพยาบาล โดยการ Export Image File ที่จัดเก็บ ออกไปในรูปแบบ PDF ในกรณีที่มีการส่งข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยมีการขอข้อมูล






  • ระบบควบคุมข้อมูลที่ส่งออกโดยการจัดทำ Water Mark แสดงในเอกสารอย่างชัดเจน






  • สามารถสอบถามข้อมูลได้หลายมุมมอง

  • ระบบ Audit OPD Chart







  • เพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองข้อมูล






  • Lab Result \ Vital Sign






  • ลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลที่มีปริมาณมาก






  • สามารถบันทึก Comment เพื่อเตือนผู้เกี่ยวข้อง






  • Comment จะแจ้งเตือนทันที ที่แพทย์ทำการดึงข้อมูลของผู้ป่วยมาใช้งาน






  • Review Audit Chart






  • เพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองข้อมูลอย่างถูกต้องและแม่นยำโดยแพทย์ สามารถระบุได้






  • ช่วงเวลา เพื่อค้นหาว่ามีผู้ป่วยใดบ้างที่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว เป็นต้น



  • 1.27 บริหารการพยาบาล


     รองรับการบันทึกการประเมินทางการพยาบาล (Nurse Assessment) โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ง่ายต่อการบันทึกตามรูปแบบการพยาบาล จัดเก็บข้อมูล Vital Sign , Fluid Intake , Fluid Output ซึ่งจะเชื่อมโยงเข้าไปสู่ TPR Chart แสดงออกมาในรูปแบบกราฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากการประเมินทางการพยาบาล เข้าสู่ระบบ ICNP ในส่วนของ Problem Support เพื่อนำมาใช้การวางแผนการรักษาพยาบาล ฝ่ายการพยาบาลสามารถจัดทำ Preset ของข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง Diagnosis \Intervention \ Expected Outcome ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ง่าย และเกิดความรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล Nurse Note และการส่งเวรทางการพยาบาล การทำ Discharge Plan รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบแพทย์ผู้ป่วยใน (ในกรณีทีโรงพยาบาลมีการจัดซื้อระบบแพทย์ผู้ป่วยใน ) ข้อมูลการสั่งยา การส่ง Investigate หรือคำสั่งตรวจพิเศษต่างๆ จะเชื่อมโยงมายังระบบพยาบาลผู้ป่วยใน เพื่อให้ทำการยืนยัน และรับทราบข้อมูล พร้อมทั้ง Online คำสั่งการรักษาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอัตโนมัติ





    1.28 เคมีบำบัด

         เป็นระบบเฉพาะทางในการให้ยากับผู้ป่วยมะเร็ง โดยครอบคลุมงานของ 3 ส่วน คือ ส่วนของแพทย์ ส่วนของเภสัชกรรม และส่วนการพยาบาล 
         ในส่วนของแพทย์ระบบรองรับคำสั่งการรักษาของแพทย์ และอำนวยความสะดวก ในการคำนวณค่า BSA เพื่อนำไปคำนวณปริมาณยาเคมีให้อัตโนมัติ โดยสามารถกำหนดสูตรยาเคมีบำบัด ( Chemo Regimen ) แยกตามแพทย์ หรือตามสาขาทางด้านมะเร็ง ครอบคลุมทั้งการสั่งยา Pre-Med , Standing Med , Chemo Med และ Home Med วันที่ได้รับยา และรอบการสั่งยาของผู้ป่วย พร้อมทั้ง เชื่อมโยงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องมาให้อัตโนมัติ เช่น Creatinine ,CrCl/GFR เป็นต้น โดยคำสั่งการรักษาจะเชื่อมโยงเป็น Chemotherapy Order ไปที่ระบบงานเภสัชกรรม และ การพยาบาลในส่วนของเคมีบำบัดอัตโนมัติ 
         การพยาบาล สามารถทำการสอบถาม และเชื่อมโยงข้อมูลคำสั่งแพทย์ เพื่อทำการ Activate เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาพยาบาลตามการนัดหมาย ซึ่งการ Activate จะเป็นการส่งสัญญาณไปยังระบบเภสัชกรรมในการจัดเตรียมรายการยาเคมีบำบัด และมีการรับทราบสถานะของการจัดเตรียมยาเคมีบำบัด หลังจากที่เภสัชกรได้จัดยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้น 
          ระบบเภสัชกรรม มีการเชื่อมโยงข้อมูลคำสั่งแพทย์ และ เชื่อมโยงการ Activate จากงานพยาบาล เพื่อให้งานเภสัชกรรมทำการยืนยันการตัด Stock และ เตรียมผสมยา ตาม Chemotherapy Order โดยค่ารักษาจะเชื่อมโยงไปยังระบบการเงินอัตโนมัติ พร้อมทั้ง แจ้งสถานะกลับไปยังการพยาบาลว่าได้จัดเตรียมยาเคมีบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



    (2)       Back Office Solutions ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ดังนี้



    2.1 ระบบผู้บริหาร
    2.2 ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้
    2.3 ระบบบัญชีลูกหนี้
    2.4 ระบบบัญชีแยกประเภท
    2.5 ระบบงบประมาณ
    2.6 ระบบการจัดการต้นทุนฐานกิจกรรม
    2.7 ระบบจัดซื้อจัดจ้าง
    2.8 ระบบคลังพัสดุ
    2.9 ระบบบัญชีทรัพย์สิน
    2.10 ระบบเงินเดือน
    2.11 ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR)
    2.12 ระบบบัญชีแพทย์
    2.13 ระบบ Time Attendance




    (3)       Advanced Solution ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ดังนี้
    3.1 ระบบผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
    3.2 ห้องตรวจแพทย์ผู้ป่วยใน
    3.3 ระบบชันสูตร
    3.4 คนไข้ในการอนุเคราะห์



    (4)       Interface Solution ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ดังนี้
    4.1 การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ตู้สาขา PABX
    4.2 การเชื่อมต่อ LIS



    1 ความคิดเห็น: