ACDEFGHIJ
1
#REF!หน่วยงานผลดำเนินงานชื่อผู้รายงานเบอร์โทรติดต่อหน่วยงาน (กอง/สำนัก)
2
-
3
-
4
-
5
-
6
7
8
กรมพัฒนาที่ดิน โดยสถานีพัฒนาที่ดินพังงา สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 ได้ดำเนินการส่งเสริม ถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนการใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมัก
โดยจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร
ที่มีศักยภาพในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จากเศษพืชจากไร่นา ครัวเรือน ตลาด นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้วัสดุ
ให้เกิดประโยชน์ ลดมลภาวะและขยะทางการเกษตร
ใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง สถานีพัฒนาที่ดินพังงาได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่
ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอทับปุด มีการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์แห่งใหม่และต่อยอด โดยให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ครัวเรือน ขยะรีไซเคิล มาแลกปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพจากธนาคารไปใช้ นอกจากนี้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินให้แก่สมาชิกธนาคารปุ๋ยอินทรีย์
9
กรมพัฒนาที่ดินพัฒนาปุ๋ยชีวภาพและเทคโนโลยีทางการเกษตร
ภาพรวม
- ส่งเสริมการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำปุ๋ยใช้เองได้ โดยให้เกษตรกรรวมเป็นกลุ่มๆละ 30-50 ราย เรียนรู้วิธีการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และ นำไปผลิตในพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง
โดยใช้สารเร่ง พด.1 และ 2 ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มจำนวน 70,000 กลุ่ม
- ส่งเสริมการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง โดยกรมพัฒนาที่ดินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง และถ่ายทอดความรู้ไปยังหมอดินอาสาและเกษตรกรทั่วไป เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มผลิตปุ๋ยคุณภาพสูงใช้เอง และพัฒนารูปแบบการผลิตขนาดเล็กเพื่อจำหน่ายในพื้นที่
- ส่งเสริมและแนะนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. 13 ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดและสารเร่ง พด. 14 เพื่อกำจัดเชื้อโรคในพืช เป็นการลดการใช้สารเคมี และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดมูลค่า และนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในท้องถิ่นได้
ระดับพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
ปีงบประมาณ 2565 สถานีพัฒนาที่ดินกำแพงเพชรดำเนินกิจกรรมธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ โดยส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นการช่วยให้เกษตรกร
ลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี/สารเคมี มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. ธนาคารปุ๋ยหมัก พด. 1 จำนวน 12 ตัน
2. ธนาคารน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 5,200 ลิตร
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1. เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ในวิธีการผลิตและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์แบบครบวงจร
2. สามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกสินค้าเกษตรและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
3. เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มและร่วมมือกันดำเนินการและบริหารจัดการในรูปแบบของธนาคาร
4. เกษตรกรได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. สามารถลดปัญหาการเผาหรือทิ้งเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือใช้ประโยชน์ไปแล้ว
6. ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้และเกิดการหมุนเวียนการผลิตให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี
7. สามารถลดปัญหาเกษตรกรใช้สารเคมีเกินความจำเป็น และหันกลับมาใช้สารอินทรีย์เพิ่มขึ้นมากขึ้นทำให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากผลผลิตการเกษตรมากขึ้น
10
กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและช่วยลดต้นทุนการผลิต
ภาพรวม ปีงบประมาณ 2565 กรมฯ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพดินในระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีผลการดำเนินงาน 77,540 ไร่
ระดับพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
ปีงบประมาณ 2565 สถานีพัฒนาที่ดินกำแพงเพชรดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพดินในระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. ผลิต-จัดหาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด 6.60 ตัน
2. ส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน 1,320 ไร่
3. ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด 6 ตัน
4. ส่งเสริมการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด 12 ไร่
5. ผลิตปุ๋ยหมัก พด. 10 ตัน
6. ผลิตน้ำหมักชีวภาพ 12,800 ลิตร
7. บริการวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำการจัดการดิน-น้ำ-พืช 56 ตัวอย่าง
8. ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาที่ดิน 14 ครั้ง
นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดินมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้
กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 ดำเนินงานในพื้นที่
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านทุ่งรวงทอง ม.14 ต.อ่างทอง
อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จำนวน 743 ไร่ 36 ราย
- แปลงใหญ่ยางพารา บ้านศรีดอนชัย ม.15 ต.คลองน้ำไหล
อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร จำนวน 825 ไร่ 36 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านหัวทุ่งน้อย ม.2 ต.คลอง
สมบูรณ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 1,618 ไร่
64 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านหนองผักหนาม ม.3 ต.คลอง
สมบูรณ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 1,124 ไร่
40 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านคลองสมบูรณ์ ม.4 ต.คลอง
สมบูรณ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 1,024 ไร่
72 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านสัมฤทธิ์ ม.6 ต.คลองสมบูรณ์
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 1,158 ไร่ 43 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านหนองทองหล่อ ม.9 ต.วังไทร
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 753 ไร่ 53 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านทรัพย์มะนาว ม.10 ต.วังไทร
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 673 ไร่ 30 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านช้างคับ ม.13 ต.วังไทร
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร จำนวน 1,195 ไร่ 50 ราย
- แปลงใหญ่มันสำปะหลัง บ้านทรัพย์เจริญ ม.9 ต.วังหามแห
อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร จำนวน 352 ไร่ 30 ราย
- แปลงใหญ่ถั่วเขียว บ้านเนินสว่าง ม.13 ต.ป่าพุทรา
อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร จำนวน 631 ไร่
30 ราย
- แปลงใหญ่มะม่วง บ้านแสงตะวัน ม.8 ต.เพชรชมภู
อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร จำนวน 642 ไร่ 31 ราย
กรมการข้าว ปี 2565 ดำเนินงานในพื้นที่
- แปลงใหญ่ข้าวบ้านชัยมงคล ม.13 ต.วังชะโอน
อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร จำนวน 684 ไร่ 35 ราย
- แปลงใหญ่ข้าวบ้านวังแขมเหนือ ม.3 ต.วังแขม อ.คลองขลุง
จ.กำแพงเพชร จำนวน 885 ไร่ 34 ราย
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1. กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาขบวนการผลิตและใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเข้มแข็ง
2. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบไม่ซ้ำซ้อนกัน
3. ทรัพยากรดินและน้ำได้รับการฟื้นฟูให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดและรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
11
กรมพัฒนาที่ดิน โดยสถานีพัฒนาที่ดินพังงา สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 ได้ดำเนินการสนับสนุนงาน
ด้านวิชาการ และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืน สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน (น้ำหมักชีวภาพ และการบริการวิเคราะห์ดิน) แก้ปัญหาดินที่มีปัญหาในการทำการเกษตร โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการบริหารแบบบูรณาการประกอบด้วย การจัดการดิน การจัดการน้ำ และระบบการปลูกพืชเกษตรแบบครบวงจร เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร เป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการนำพื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนา ให้เกษตรกรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และรองรับการพัฒนาเป็นครัวอันดามัน
12
-
13
กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว) ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ของเกษตรกร โดยเกษตรกรร่วมสมทบค่าใช้จ่าย 2,500 บาท/บ่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชได้
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาภาพรวมทั้งประเทศ
ปี 2548-2565 สนับสนุนให้เกษตรกรจำนวน 649,460 บ่อ สำหรับปีงบประมาณ 2566 มีเป้าหมายดำเนินการ 35,380 บ่อ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2548-2565 ดำเนินการได้จำนวน 3,127 บ่อ และปีงบประมาณ 2566 มีเป้าหมายดำเนินการ 54 บ่อ ซึ่งจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้สร้างความพึงพอใจให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรสามารถบริหารการใช้น้ำและที่ดินได้ด้วยตนเอง ประกอบกับกรมพัฒนาที่ดินได้สนับสนุนปัจจัยการปรับปรุงคุณภาพดิน เพื่อให้เกษตรกรเกิดรายได้จากการปลูกพืชผักหรือเลี้ยงปลาให้กับครัวเรือน เมื่ออยู่นอกฤดูกาลผลิตพืชหลักได้
14
-
15
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี มีการดำเนินงาน ดังนี้
1) ให้ความรู้เรื่องการจัดการดิน
2) ให้คำแนะนำและวิเคราะห์ตัวอย่างดิน
3) สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) 250 กิโลกรัม
4) สนับสนุนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (โดโลไมท์) 33 ตัน
5) สนับสนุนน้ำหมักชีวภาพ 500 ลิตร
6) ส่งเสริมการไถกลบตอซัง 30 ไร่
7) จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปรับรูปแปลงนา เพื่อฟื้นฟูนาร้าง 900 ไร่
8) จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ ไม่เหมาะสม Agri-Map เพื่อเกษตรผสมผสาน 30 ไร่
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานีขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาพื้นที่นาร้างนำร่องในอำเภอยะรัง ดังนี้
1) ประชุมหารือการแก้ไขปัญหาพื้นที่นาร้างอำเภอยะรัง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบปัญหาและพิจารณาแนวทางแก้ไข โดยอำเภอยะรังมีพื้นที่นาร้างนำร่อง ประมาณ 2,000 ไร่ ในพื้นที่
ต.กระโด กอลำ และเมาะมาวี ซึ่งเกษตรกรต้องการให้เร่งแก้ไขปัญหาน้ำขังในพื้นที่ทำนา โดยการก่อสร้างคลองส่งน้ำเพิ่มเติม และขุดลอกคลองส่งน้ำเดิมให้สามารถระบายน้ำในพื้นที่ทำนา
2) ประชุมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาพื้นที่นาร้างนำร่องอำเภอยะรัง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 โดยมีแนวทางขับเคลื่อนดังนี้
การพัฒนาระบบน้ำ
- มอบหมายโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ร่วมกับโครงการชลประทานปัตตานี พัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่นาร้างน้ำร่องอำเภอยะรังอย่างเป็นระบบ โดยใช้งบเหลือจ่ายปี 2566 และตั้งคำของบประมาณปี 2567
- มอบหมายสำนักงานจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ 35 วิเคราะห์ ออกแบบ จัดรูปที่ดิน และก่อสร้างคูไส้ไก่
การพัฒนาพื้นที่นาร้างน้ำร่อง
- มอบหมายสำนักงานเกษตรอำเภอยะรัง ร่วมกับผู้แทนเกษตรกรผู้นำท้องที่ จัดทำเวทีประชาคมสำรวจความต้องการพัฒนาด้านการเกษตรของเกษตรกร และขับเคลื่อนฟื้นฟู นาร้าง โดยใช้กลยุทธ์นาดีรุกนาร้าง
- มอบหมายศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี และสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ส่งเสริมการทำนา โดยถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว
- มอบหมายองค์การบริหารส่วนตำบลกระโด ตั้งคำของบประมาณปี 2566-2567 เพื่อก่อสร้างถนนอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการเดินทางและขนย้ายผลผลิต
-
16
กรมพัฒนาที่ดินขับเคลื่อนการเพิ่ม/พัฒนาแหล่งน้ำ
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภาคการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่
โดยดำเนินการโครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว) ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ของเกษตรกร โดยเกษตรกรร่วมสมทบค่าใช้จ่าย 2,500 บาท/บ่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชได้
ภาพรวม จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งประเทศ
ปี 2548-2565 สนับสนุนให้เกษตรกรจำนวน 649,460 บ่อ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
มีเป้าหมายดำเนินการ 35,380 บ่อ
ระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานี ปี 2548-2565 ดำเนินการได้จำนวน 751 บ่อ และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเป้าหมายดำเนินการ 31 บ่อ
คุณจารุมาศ0 2579 0752กลุ่มแผนงาน
17
-
18
มอบหมายให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ โดยร่วมกับหมอดินอาสา ในพื้นที่ในการติดตามและให้คำปรึกษาคำแนะนำการจัดการดิน การลดต้นทุนการผลิต การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ฯลฯ-
19
20
21
กรมพัฒนาที่ดิน นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนการผลิต และการบริหารจัดการภายในพื้นที่การเกษตรเพื่อยกระดับการเพาะปลูก รวมทั้งการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น
- เทคโนโลยีฐานข้อมูล เช่น Agri-map : ชุดข้อมูลแผนที่การเกษตรเพื่อการตัดสินใจ เพื่อให้เกษตรกรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจและสามารถผลิตพืชได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ โปรแกรม LDD onfarm : แอพพลิเคชั่นเพื่อการวางแผนการผลิตระดับไร่นา AI Chatbot น้องดินดี : ระบบโต้ตอบอัตโนมัติด้านการพัฒนาที่ดินและการเกษตร เป็นต้น
- เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมฯ ดำเนินการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการผลิตสารเร่ง พด. ชนิดต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ของกรมฯ ได้แก่ พด. 13 ไมคอร์ไรซา สำหรับข้าวโพด และ พด. 14 ไตรโคเดอร์มา ควบคุมและกำจัดโรคพืช
- เทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน ในระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน การใช้โดโลไมท์แก้ไขสภาพดินที่มีปัญหา ทำให้สามารถผลิตพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับด้านกายภาพของดิน คือ ดินมีความร่วนซุย ด้านคุณสมบัติทางเคมี คือ ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น มีค่า pH เพิ่มขึ้น รวมถึงมีปริมาณธาตุอาหารต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย
คุณจารุมาศ 0 2579 0752กลุ่มแผนงาน
22
----
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100