บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: C.P. ALL PUBLIC COMPANY LIMITED, ย่อ: CPALL) เดิมชื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: C.P. SEVEN ELEVEN PUBLIC COMPANY LIMITED, ย่อ: CP7-11) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นบริษัทหลักในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่ายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกอบธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า เซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:CPALL
อุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 (35 ปี)
ผู้ก่อตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เลขที่ 313 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 24 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
สุภกิต เจียรวนนท์
(ประธานกรรมการ)
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
(ประธานกรรมการบริหารและรองประธานกรรมการ)
ศุภชัย เจียรวนนท์
(รองประธานกรรมการ)
ยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
ผลิตภัณฑ์ธุรกิจค้าปลีก
เว็บไซต์www.cpall.co.th

ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ (บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี (บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด) ธุรกิจจำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก (บริษัท ซีพี รีเทลลิงก์ จำกัด) ธุรกิจให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด (บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด) ธุรกิจให้บริการด้านระบบสารสนเทศ (บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด) ธุรกิจบริการขนส่งและกระจายสินค้า (บริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด) ธุรกิจให้บริการด้านการตลาด (บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด) ธุรกิจโรงเรียนอาชีวะศึกษาด้านค้าปลีก (บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด) และธุรกิจการจัดฝึกอบรมการจัดการสัมมนาทางวิชาการทางธุรกิจ (บริษัท ปัญญธารา จำกัด และบริษัทออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด) นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าซื้อกิจการของ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง (Cash and Carry)

ประวัติ แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด ได้รับสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้าเซเว่น อีเลฟเว่นจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา จึงเริ่มดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จากนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด และได้เปิดสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ ต่อมาปี 2537 จัดตั้งบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ปี 2539 จัดตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี ในปี 2541 จัดตั้ง Lotus Distribution Investment Limited และในปีนี้เองที่ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในชื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)[1]

ปี พ.ศ. 2545 ได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จนปี 2550 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ในระบบการซื้อขาย จาก CP7-11 มาเป็น CPALL ต่อมาปี 2556 เข้าซื้อกิจการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง[1] การซื้อกิจการสยามแม็คโครเพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) และสินค้าผลิตผลทางการเกษตร อาหารแช่แข็งและอาหารสดของไทย ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน[2] ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทมีสาขาทั้งสิ้น 10902 สาขา[3]

9 มีนาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มซีพีและซีพี ออลล์ ชนะการประมูลเทสโก้ โลตัส ด้วยมูลค่า 3.38 แสนล้านบาท โดยซีพี ออลล์ ถือ 40% กลุ่มซีพีถือ 40%, ซีพี เมอร์แชนไดซิ่ง (บริษัทลูก CPF) ถือ 20%[4] ปัจจุบันได้โอนกิจการทั้งหมดให้สยามแม็คโครซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ซีพี ออลล์ เป็นผู้ดูแล และในเดือนพฤษภาคม ซีพี ออลล์ กัมพูชา บริษัทย่อยของซีพี ออลล์ ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการจัดตั้งและดำเนินการร้าน เซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศกัมพูชาเป็นเวลา 30 ปี และคู่สัญญาอาจตกลงต่ออายุสัญญาได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 20 ปี[5]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แก้

  • ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 15 กันยายน 2564 [6]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด 2,761,481,400 30.74%
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 761,490,913 8.48%
3 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 613,072,070 6.82%
4 STATE STREET EUROPE LIMITED 330,993,841 3.68%
5 สำนักงานประกันสังคม 266,282,100 2.96%

เซเว่น อีเลฟเว่น แก้

ประเภท แก้

 
เซเว่น อีเลฟเว่นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

เซเว่น อีเลฟเว่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะความเป็นเจ้าของ คือ[1]

  • ร้านสาขาบริษัท เป็นร้านที่บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารเองทั้งหมด
  • ร้าน Store Business Partner (SBP) เป็นร้านที่ทางบริษัทช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุน โดยเลือกจากเซเว่น อีเลฟเว่นของทางบริษัทที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว หรืออาจทำธุรกิจในทำเลของตัวเอง โดยระยะเวลาอนุญาตให้ดำเนินการร้านและผลประโยชน์ตอบแทน ขึ้นอยู่กับประเภทของ SBP
  • ผู้ประกอบการรับสิทธิ์ช่วงในอาณาเขต (Sub-Area License) เป็นร้านที่บริษัททำสัญญาอนุญาตให้สิทธิ์ช่วงแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตันตรานนท์ ผู้ประกอบการค้าปลีกท้องถิ่นรายใหญ่ของเชียงใหม่ ดูแลพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน, กลุ่มงามทวี ดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เช่น ภูเก็ต กระบี่ ตรัง, กลุ่มศรีสมัย ดูแลบางจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง เช่น ยะลา และกลุ่มยิ่งยง ดูแลการขยายเซเว่น อีเลฟเว่นใน 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ[7] กลุ่มเหล่านี้ได้รับสิทธิ์ช่วงรับผิดชอบการเปิดสาขาและบริหารร้าน

การตลาด แก้

เซเว่น อีเลฟเว่น ในยุคแรกมีรูปแบบเป็นมินิมาร์ท คือเน้นขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารมากกว่า ในช่วง 20 สาขาแรก ได้มีการลงทุนเองโดยการซื้อตึกมาเปิดสาขาเอง แต่หลังจากนั้นหันมาใช้วิธีการเช่าแทนจึงทำให้สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาได้เปลี่ยนกลยุทธ์การใช้ระบบแฟรนไชส์ และซับแอเรียไลเซนซ์ (ผู้ประกอบการรับสิทธิ์ช่วงในอาณาเขต) ถือเป็นที่แรกในโลกที่ใช้ระบบซับแอเรียไลเซนซ์[8] เมื่อขยายได้เกิน 400 สาขา ทำให้บริษัทผ่านจุดคุ้มทุน จึงมีเงินเหลือในการลงทุนด้านต่าง ๆ เพื่อเข้ามาสนับสนุนการทำตลาด เช่น เปิดสถาบันปัญญาภิวัฒน์ เพื่อพัฒนาทีมงานด้านค้าปลีกโดยเฉพาะ[8]

อีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาด คือแสตมป์เซเว่น อีเลฟเว่น ที่เริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542[9] กับแนวคิดเริ่มต้นคือ การให้ส่วนลดกับลูกค้าที่ใช้บริการ แต่ประยุกต์ในรูปแบบการสะสมแสตมป์ โดยจัดต่อเนื่องทุกปี ภายหลังมีการนำคาแรกเตอร์ หรือตัวละครต่าง ๆ เข้ามาในแสตมป์ นอกจากการสะสมแปะไว้ในสมุดสะสมแสตมป์ ยังมีรูปแบบการสะสมแบบ เอ็ม-แสตมป์ (M-Stamp) ผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ วิธีการสะสมแสตมป์ได้รับความนิยม จนร้านสะดวกซื้อรายอื่นหันมาทำตาม อาทิ เทสโก้ โลตัส และลอว์สัน 108[10]

สินค้าและบริการ แก้

สัดส่วนสินค้าแบ่งเป็นสินค้ากลุ่มอาหารและของสดเป็นร้อยละ 70 และสัดส่วนสินค้าทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 30 สินค้าที่วางขายในร้าน จัดเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้อยละ 50 หรือราว 2 พันราย จากจำนวนผู้จัดหาสินค้า 4 พันราย และมีจำนวนสินค้าจากผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีมากกว่า 25,000 รายการ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ขายดี คือ สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรต่าง ๆ[11]

รูปแบบบริการอื่น ในเซเว่น อีเลฟเว่น เช่นร้านกาแฟออลคาเฟ (All Cafe) และอีกแบรนด์คือ Kudsan Bakery & Coffee ที่ทำตลาดกาแฟ บางร้านมีมุมอาหารปรุงสุก ออลมีล (All Meal) ที่เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ปี 2557 เซเว่น อีเลฟเว่นยังมีบริการต่อทะเบียนรถผ่าน เคาน์เตอร์ เซอร์วิส เริ่มบริการนี้ตั้งแต่ปี 2558 มีบริการซัก-อบ-รีด จากบริษัท คลีนเมต (CleanMate) บางสาขาให้บริการเครื่องถ่ายเอกสารและพรินต์เอกสาร ในบางสาขามีร้านขายยา เอ็กซ์ต้า พลัส, ตัวแทนให้บริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Refund) ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในบางสาขา และเซเว่น อีเลฟเว่นยังมีบริการรับส่งพัสดุ[12]

นอกจากนั้นเซเว่น อีเลฟเว่นยังเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (Banking Agent) ให้บริการฝากถอนเงิน โดยร่วมมือกับธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์[13] และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์[14]

นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้น แก้

จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปมีดังนี้[1]

  1. บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  2. บริษัท ซีพีแรม จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  3. บริษัท ซีพี รีเทลลิงก์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  4. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  5. บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  6. บริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  7. บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  8. บริษัท ปัญญธารา จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  9. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 72.64
  10. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  11. วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  12. บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  13. บริษัท ออลล์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  14. บริษัท โอเอชที จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  15. บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  16. บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  17. บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  18. บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  19. โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  20. Lotus Distribution Investment Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
  21. Successor Investments Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
  22. Nanjing Zheng Yi Xin Trading Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 100
  23. Successor (China) Investments Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
  24. Albuera International Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
  25. Nanjing Tianqu Investment Management Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 100
  26. Nanjing Tech University Pujiang Institute ถือหุ้นร้อยละ 100
  27. Nanjing Tech University Pujiang Institute Educational Development Fund ถือหุ้นร้อยละ 100
  28. บริษัท สยามฟูด เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  29. Indoguna Vina Food Service Company Limited (เดิมชื่อ Vina Siam Food Co., Ltd.) ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  30. บริษัท แม็คโคร อาร์โอเอช จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  31. บริษัท โปรมาร์ท จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  32. ARO Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.88
  33. Makro (Cambodia) Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 68.52
  34. CP Wholesale India Private Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.87
  35. Indoguna (Singapore) Pte Ltd ถือหุ้นร้อยละ 78.30
  36. Indoguna Dubai L.L.C. ถือหุ้นร้อยละ 78.30
  37. Just Meat Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 78.30
  38. Indoguna Lordly Company Limited (เดิมชื่อ Lordly Company Limited) ถือหุ้นร้อยละ 78.30
  39. Makro (Guangzhou) Food Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.87
  40. MAXZI THE GOOD FOOD RESTAURANT & CAFÉ L.L.C. ถือหุ้นร้อยละ 78.30
  41. Indoguna (Cambodia) Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 68.52
  42. บริษัท ทรู จีเอส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 10

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 รายงานประจำปี 2560
  2. ซีพีออลล์ทุ่ม 1.8 แสนล้านซื้อแม็คโครรับ AEC กรุงเทพธุรกิจ
  3. CPALL ไตรมาส 3/18 ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมเติบโต 1.8% แต่รายได้รวมยังเติบโตดี
  4. "ด่วน! CP ชนะการประมูล Tesco มูลค่า 3.38 แสนล้านบาท". 9 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. ""ซีพีออลล์"ปิดดีลเปิดแฟรนไชส์'เซเว่น'กัมพูชา 30 ปี". 7 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=CPALL&ssoPageId=6&language=th&country=TH
  7. "ล้วงลึก "ระบบ Sub-Area License" โมเดลขยายสาขา "เซเว่น อีเลฟเว่น" ในต่างจังหวัด". Brand Buffet. 27 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. 8.0 8.1 "5 จุดเปลี่ยนเซเว่น อีเลฟเว่น ก่อนที่จะเป็นเบอร์ 1 แบบแกร่งทั่วแผ่น". แบรนด์เอจ. 3 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. ""แสตมป์แห่งสยาม" เมื่อโปรโมชั่นแสตมป์ถูกตีตราโดยเซเว่น จ่าย 50 ได้คืน 1 บาท ไม่ใช่ประเด็นของคนคลั่งแสตมป์". โพซิชันนิง. 7 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. "แคมเปญแสตมป์ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไร !? จนทำให้เซเว่นฯ ติดใจ ถึงต้องจัดหนักทุกปี". แบรนด์เอจ. 25 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. ""แล็บการตลาดของ SME" ทำความรู้จักอีกหนึ่งบทบาท ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น". brandbuffet. 23 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. "7-Eleven ให้บริการอะไรอีกบ้าง นอกจากการเป็นร้านสะดวกซื้อ!?". แนวคิดพันล้าน. 27 ตุลาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. ""แบงกิ้ง เอเย่นต์" หมากรบตาใหม่ของ "ธนาคาร"". โพซิชันนิง. 7 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. "LH Bankตั้ง 7-Elevenเป็น Banking Agent". ผู้จัดการออนไลน์. 27 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)