ปลายทางของทุกอุตสาหกรรมจะเกี่ยวกับการซื้อขายอยู่เสมอ และปัจจัยที่ขาดไม่ได้สำหรับเรื่องนี้คือการบริหารจัดการสินค้าและความต้องการ การจัดการ Supply Chain จึงเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับการวางแผนระบบอุตสาหกรรมไม่ว่าเวลาจะผ่านไปขนาดไหน และอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม

รู้จักกับ Supply Chain ปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมทุกยุคสมัย

Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต  การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง

องค์ประกอบของ Supply Chain

Supply Chain จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งคือ

  1. Upstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต คือการจัดหาวัตถุดิบจากเหล่าซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่รวมถึงการประสานงาน จัดซื้อ พูดคุยเบื้องต้น ตรวจสอบข้อมูล ก่อนเข้าสู่ระบบการผลิต
  2. Internal Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิต คือการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบเบื้องต้น การประกอบชิ้นส่วน ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพของสินค้านั้นๆ
  3. Downstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า จะเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าต่างๆ ให้ถึงมือผู้รับ ครอบคลุมไปถึงด้านการแพ็คของ ตรวจสอบสินค้า เป็นต้น

การจัดการซัพพลายเชนช่วยอุตสาหกรรมด้านไหนบ้าง

การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) เปรียบเสมือนการอัปเกรดระบบทั้งหมดของอุตสาหกรรมการผลิตให้ดียิ่งขึ้น โดยจะส่งผลดี 3 ประการต่อกระบวนการทำงานดังนี้ 

1.เห็นภาพรวมที่แท้จริงของอุตสาหกรรม เพราะการจัดการซัพพลายเชนจำเป็นต้องมีข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแปลงข้อมูลต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถจับต้องได้ ทางฝั่งผู้บริหารจะสามารถรู้ได้ทันที เช่น 

  • ความล่าช้าในการจัดส่ง
  • ปัญหาในการผลิตส่วนต่างๆ 
  • การจัดการบัญชีที่ล่าช้า

2.ลดต้นทุนโดยรวมของอุตสาหกรรม เนื่องจากการจัดการซัพพลายเชนจะใช้หลัก Zero waste คือ ไม่มีสิ่งใดสูญเปล่า ดังนั้นจะมีการตรวจสอบการจัดซื้อ การจัดเก็บสินค้า เพื่อไม่ให้มีการจัดซื้อวัตถุดิบมากเกินไป และจัดเก็บสินค้านานจนเสื่อมคุณภาพ ราคาตก ทำให้เงินที่ใช้จ่ายโดยรวมลดลง เพิ่มโอกาสได้กำไรมากขึ้น 

3.ส่งผลต่อการทำงานอย่างบูรณาการ จากการจัดการซัพพลายเชนจะทำให้ทางบริษัทและโรงงานรู้ได้ทันทีว่าส่วนไหนที่อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้มีการแก้ไขที่ไวและทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่งผลกระทบใหญ่โต รวมถึงมีการพัฒนาระบบการผลิตให้ดีขึ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจัดการซัพพลายเชนเดิมมาใช้ เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ขยายโกดังเก็บสินค้าใหม่เพื่อให้พอดีกับการผลิต เป็นต้น

รูปภายในบทความ การจัดการซัพพลายเชน

ในความเป็นจริงแล้วการบริหารจัดการซัพพลายเชนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ย่อมทำให้ระบบและอุปกรณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับซัพพลายเชนนั้นเพิ่มมากขึ้น จนในปัจจุบันเราสามารถจัดการซัพพลายเชนทั้งระบบอุตสาหกรรมได้ในเวลาเดียวกัน โดยจะขอยกตัวอย่างวิธีการจัดการซัพพลายเชนเบื้องต้นไว้ด้านล่าง

การจัดการซัพพลายเชนเบื้องต้น (Supply Chain Management)

เราสามารถจัดการซัพพลายเชนอย่างมีคุณภาพได้ โดยการเก็บข้อมูลระบบการผลิตทั้งหมด แล้วเปลี่ยนทุกอย่างให้กลายเป็นตัวเลขที่สามารถวัดค่าได้ชัดเจน และดำเนินการจัดการโดยใช้การคาดคะเนด้วยข้อมูลตามความเป็นจริงเป็นหลัก เช่น 

  • การจัดซื้อวัตถุดิบ หากเป็นวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดในการผลิต อาจสั่งมามากขึ้นเล็กน้อย อย่าสั่งเผื่อจนล้นโกดังเก็บของ และอย่าสั่งพอดีจนเกินไปนัก โดยอิงตัวเลขตามสถิติความผิดพลาดในการผลิตในอดีตเป็นหลัก
  • การผลิต เน้นพัฒนาให้เกิดข้อผิดพลาดการผลิตน้อยที่สุด เพื่อให้การผลิตเข้าสู่ zero waste หรือ ไม่มีวัตถุดิบและปัจจัยสูญเปล่า 
  • การจัดส่งสินค้า บูรณาการการจัดส่ง ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ความรวดเร็ว และความถูกต้อง หากเป็นสินค้าที่แตกหักง่าย ต้องใช้เวลามาก ต้องมีการพูดคุยกับลูกค้าก่อน เพื่อลดความผิดพลาดจากการรีบจัดส่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองหากเกิดความผิดพลาด
  • การพัฒนาระบบที่ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน บันทึกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาระบบให้ดีขึ้น สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ด้านบน

แน่นอนว่าทุกข้อล้วนสำคัญ แต่หากมองในภาพกว้างออกมา สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนมากที่สุดก็คือการบริหารจัดการและการติดต่อสื่อสารที่ครอบคลุม ไม่ใช่การสั่งการจากหัวไปท้าย แต่กระจายข้อมูลเป็นเครือข่ายให้ทุกฝ่ายได้รู้และจัดการอย่างทันท่วงที

แนวคิดดังกล่าวทำให้ปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานล้วนเน้นหนักมาในด้านการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และมีการเชื่อมต่อข้อมูลระยะไกลผ่านระบบ IoT ซึ่งรับส่งข้อมูลได้ง่าย ไม่ต้องผ่านตัวกลาง 

สรุปบทความ

ปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการซัพพลายเชนเห็นจะไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูล” และ “การสื่อสาร” ซึ่งสามารถส่งเสริมได้ด้วยเทคโนโลยี หากใช้ทั้งสองอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการจัดการและวิสัยทัศน์ที่ดีของฝ่ายบริหาร จะทำให้อุตสาหกรรมลดต้นทุนได้มาก และทำงานได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

ถ้าคุณมีข้อสงสัยในการจัดการซัพพลายเชน หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านเครื่องจักรจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด 

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-ebook-measuring