Solve Every Problem about Sneaker’s Toe Box!

แก้ยังไงดี…บอกลาปัญหา Toe Box รองเท้ายับ!

28/01/2023

...

ปัญหาโลกแตกของเหล่าสนีกเกอร์เฮดที่ยังหาทางแก้ได้ยาก! เมื่อรองเท้าผ้าใบคู่โปรดสุดรักสุดหวงพอได้ใส่ไปใส่มา Toe Box ดันยับซะงั้น แต่หากใครยังไม่เข้าใจว่าสนีกเกอร์กับรองเท้าผ้าใบคือความหมายเดียวกันใช่ไหม ก็ต้องขอตอบแบบไวๆ เลยว่าใช่ฮะ! เมื่อในยุคที่เทรนด์กีฬาและวงการแฟชั่นกำลังมาแรง จึงเกิดรองเท้าผ้าใบที่มีจุดมุ่งหมายใน “การใช้งาน” ที่แตกต่างกัน โดยเราจะเห็นได้ชัดๆ ซึ่งจะแบ่งเป็นสองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่ใส่รองเท้าผ้าใบเพื่อเล่นกีฬาโดยเฉพาะ กับกลุ่มที่ใส่เพื่อไลฟ์สไตล์ด้วยหรือสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันเป็นแฟชั่นเทรนด์ได้นั่นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องยอมรับว่าคำว่าคำว่า “สนีกเกอร์” ความหมายจะค่อนไปทางการใส่เพื่อไลฟ์สไตล์หรือเทรนด์แฟชั่นเสียซะมากกว่า และอาจไม่ได้เน้นใส่เล่นกีฬาเหมือนเมื่อก่อน แต่ยังคงรูปการดีไซน์ที่สื่อถึงกีฬาตามคอนเซ็ปต์นั่นเอง แต่ไม่ว่าจะเป็นสนีกเกอร์หรือรองเท้าผ้าใบ ปัญหาที่ทุกคนก็ต้องพบเจอและหนีไม่ได้เมื่อสวมใส่รองเท้าใช้งานไปแล้วนั่นก็คือ Toe Box น่ะสิ แต่สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มเข้าวงการสนีกเกอร์มาใหม่ๆ อาจจะยังครุ่นคิดว่า Toe Box คืออะไร แล้วมันคือส่วนไหนของรองเท้ากันล่ะ วันนี้ SASOM จะมาให้คำตอบกัน

...
Toe Box คืออะไร? ทำความรู้จัก 5 ส่วนประกอบหลักของรองเท้ากัน!

เราจะขอมายกตัวอย่างง่ายๆ จากภาพที่เป็นรองเท้า Nike Air Jordan 1 รุ่นในตำนาน ซึ่งจะมีวัสดุที่ทำด้วยหนังแก้ว ซึ่งข้อดีของการดีไซน์โดยใช้วัสดุนี้คือความเท่ แต่นั่นก็แลกมาด้วยการดูแลรักษาที่ยากกว่าหนังแท้หรือ Canvas อย่างแน่นอน และจุดที่มักจะเป็นปัญหาของรองเท้าซึ่งหลีกเลี่ยงยากมากนั่นก็คือ Toe Box นั่นเอง ซึ่งใครที่อยากรู้แล้วว่าส่วนประกอบหลักของรองเท้าผ้าใบมีอะไรบ้าง และ Toe Box คืออะไรตามาอ่านกันได้เลย!

1.OUTSOLE หรือเรียกง่ายๆ ว่าพื้นรองเท้านั่นเอง เป็นจุดที่กระทบกับพื้นเป็น ซึ่งจะช่วยยึดเกาะเวลาเราใส่รองเท้าเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ 2.MIDSOLE เป็นพื้นที่ส่วนกลางของรองเท้า ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของรองเท้าวิ่ง ที่มีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก รวมไปถึงยังช่วยเสริมแรงในการก้าวให้กับผู้สวมใส่อีกด้วย 3.UPPER เป็นชิ้นส่วนด้านบนหรือหน้าของรองเท้าทั้งหมดซึ่งสิ้นสุดตรงพื้นที่ส่วนกลาง 4.HEEL COUNTER ชิ้นส่วนตรงนี้จะอยู่ที่บริเวณข้อเท้าของเรา โดยเจ้า HEEL COUNTER มีหน้าที่ควบคุมดูแลข้อเท้าของผู้สวมใส่ให้มั่นคงและรักษาสมดุลในการวิ่ง 5.TOE BOX และแล้วก็มาถึงส่วนประกอบสุดท้ายที่ทุกคนอยากรู้มากที่สุดนั่นก็คือ.. Toe Box ส่วนนี้จะอยู่ตรงบริเวณหน้าเท้าซึ่งเป็นส่วนหุ้มของนิ้วเท้านั่นเอง และ Toe Box ของแต่ละแบรนด์ก็จะมีขนาดลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างง่ายๆ ระหว่าง Toe Box ของรองเท้า Nike กับ New balance ก็จะแตกต่างกันชัดเจน บางแบรนด์ก็เลือกที่จะขยายในส่วนนี้ให้กว้างขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของคนที่เท้าใหญ่ได้ และนอกจากนี้ Toe Box ยังมีหน้าที่สามารถปกป้องเท้าเราจากเศษหินดินทรายได้อีกด้วยนะ

...
Toe Box ยับ! ก็เหมือนอกหักเพราะรองเท้าเป็นรอย

ทำไมคนถึงกลัว Toe Box ยับ? ก็เพราะว่าอุตส่าห์ประคบประหงมรองเท้าสุดที่รักมาอย่างดี แต่สุดท้ายแล้ว.. มันก็ยากที่จะเลี่ยงได้เพราะรองเท้าซื้อมาใช้งานและพอถึงเวลาสวมใส่รองเท้าทีไร Toe Box หรือ ส่วนด้านหน้าของรองเท้าเป็นรอยทุกทีแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจก็ตามทั้งก้มลงเก็บของหรือนั่งผูกเชือกรองเท้า แถมพอเป็นรอยแล้วอาจจะทำให้รองเท้าดูเก่าไวมากยิ่งขึ้น ไม่สวยเนี้ยบเหมือนเดิมและพอ Toe Box ยิ่งยับไปนานๆ หนังหุ้มตรงบริเวณหน้าเท้าก็จะแตกอีก เรียกได้ว่าฝันร้ายเลยทีเดียว แต่ SASOM ขอแนะนำว่าการเลือกรองเท้าที่เหมาะแก่รูปเท้าของตัวเองก็จะทำให้ช่วยชะลอและลดโอกาสการเกิดรอยยับของ Toe Box ได้มากขึ้น โดยเฉพาะความกว้างและความยาวของรองเท้าผ้าใบจะต้องพอดีกับรูปเท้า ให้เช็กดูว่ารูปเท้าของตนเองอยู่ในรูปแบบไหน หน้าเท้ากว้างหรือแคบ? ซึ่งตามหลักแล้ว “ความกว้าง” ควรมีความกว้างมากพอที่จะขยับเท้าได้บ้างเล็กน้อย อย่าเลือกไซส์ที่แน่นจนเกินไป ไม่อย่างนั้นขณะเราก้าวเดินส่วนหน้าของรองเท้าหรือ Toe Box จะอยู่ในลักษณะพับและยับได้ง่าย ส่วนด้าน “ความยาว” ก็เช่นกัน ไม่ควรเลือกแน่นจนเกินไปและนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดไม่ควรสัมผัสกับบริเวณ Toe Box แต่ก็ไม่ต้องหลวมจนเกินไป

...
ทริคแก้ไขและวิธีป้องกัน Toe Box ยับ ฉบับมัดใจสนีกเกอร์เฮด

อย่างรองเท้าไนกี้ เป็นอีกแบรนด์ที่ไอย่างรองเท้าไนกี้ เป็นอีกแบรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าแฟนคลับของเหล่าสนีกเกอร์คงไม่พลาดจะหยิบมาสะสมกันแต่หลายๆ คนก็จะต้องเจอกับปัญหา Toe Box ยับ ซึ่งทำให้เสียดายทั้งความสวยและมูลค่าของรองเท้า แต่วันนี้ SASOM มาช่วยแล้ว ขอบอกหมดเปลือกวิธีแก้ไขปัญหาหนัง Toe Box ยับารถเลือกได้ตามความชอบหากเป็นพลาสติกก็อาจจะไม่สบายเท้ามากนักแต่จะอยู่ทนทานกว่าและดันทรงได้มากกว่า ส่วนแบบโฟมก็จะสวมใส่สบายเท้ามากกว่านั่นเอง

วิธีที่ 1.ให้นำทิชชูมายัดเข้าไปในบริเวณหน้าเท้าของรองเท้าให้แน่นมากที่สุด แล้วนำผ้าชุบน้ำแล้วบิดหมาดๆ มาวางบน Toe Box และนำเตารีดที่ปรับให้อยู่ในโหมด Cotton ไฟอ่อนๆ มารีดทับบนผ้าเพื่อให้รอยยับบน Toe Box หายไปนั่นเอง

ในส่วนของวิธีที่ 2.การใช้ที่ดันทรงหน้าเท้าแปะตรงบริเวณด้านในของ Toe Box มีทั้งแบบพลาสติกและแบบโฟม สามารถเลือกได้ตามความชอบหากเป็นพลาสติกก็อาจจะไม่สบายเท้ามากนักแต่จะอยู่ทนทานกว่าและดันทรงได้มากกว่า ส่วนแบบโฟมก็จะสวมใส่สบายเท้ามากกว่านั่นเอง

สรุป

หากทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้บอกได้เลยว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเพราะว่าปัญหาโลกแตกของ Toe Box ยับ ก็คงเป็นปัญหาที่เลี่ยงยากและวิธีแก้ไขก็ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่วันนี้ SASOM มาบอกให้เลยหมดเปลือกรับรองว่าได้นำไปปรับใช้กันชัวร์ๆ